เทคนิครถยนต์: เปลี่ยนกรองโซล่า
เทคนิครถยนต์: “กรองโซล่า” หรือ “กรองน้ำมันดีเซล” จะมีหน้าที่หลักคือ คอยกรองสิ่งสกปรกต่าง ๆ เช่น พวกเศษตะกอนต่าง ๆ ที่ตกค้างอยู่ในถังน้ำมัน ไอ้ตะกอนที่ว่านี้เกิดได้จาก 2 กรณีก็คือ มีสิ่งสกปรกตกค้างอยู่ในน้ำมันเชื้อเพลิงที่เติมเข้าไปและตะกอนที่เกิดจากคราบสนิมในถังน้ำมัน เพราะมีน้ำมันในถังน้อยอยู่ตลอดเวลา สาเหตุหลังนี่สามารถป้องกันได้โดย อย่าปล่อยให้น้ำมันพร่องไปเกินกว่าครึ่งถัง ส่วนสาเหตุแรกคงต้องเลือกปั๊มน้ำมันกันหน่อย อย่าเติมส่งเดชสักแต่ว่าเป็นปั๊มน้ำมัน
อีกนัยหนึ่งก็คือทำยังไงก็ได้ให้น้ำมันเชื้อเพลิงมีความสะอาดมากที่สุดก่อนที่น้ำมันจะถูกส่งเจ้าไปยังปั๊มหัวฉีดเป็นรุ่นใหม่ที่แรงดันสูงขึ้น ความสะอาดของน้ำมันเชื้อเพลิงต้องมากขึ้นตามไปด้วย เพราะถ้ามีสิ่งสกปรกเล็ดลอดเข้าไปได้จะส่งผลเสียในเรื่องความเสียหายอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะตัวปั๊มหัวฉีดและหัวฉีด ไส้กรองของกรองโซล่านั้นจริง ๆ สามารถเปลี่ยนได้ แต่ในรถกระบะปัจจุบันนิยมหันมาใช้แบบเปลี่ยนทั้งตัวหม้อกรองเพื่อความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
เทคนิครถยนต์: ตัวเรือนของหม้อกรองโซล่าผลิตขึ้นจากแผ่นโลหะบาง ๆ ภายในเป็นไส้กรองแบบนี้จะทำเกลียวไว้ด้านในเพื่อนำไปสวมใส่เข้ากับใครอบที่เรือนหม้อกรองโดยใช้น็อตเป็นตัวยึด ไส้กรองแบบนี้ไม่สามารถถอดมาทำความสะอาดได้ เมื่อใช้งานไปจนถึงระยะทางที่กำหนดต้องถอดทิ้ง ไอ้เจ้าไส้กรองแบบกล่องนี้มีข้อดีในการใช้งานเพราะไม่ต้องเสียเวลาในการถอดออกมาล้างทำความสะอาด ช่วยป้องกันความเสียหายในระบบปั๊มหัวฉีดและตัวหัวฉีด ส่วนกรองโซล่าบางแบบใช้วิธีเปลี่ยนไส้กรองได้แถมยังต้องทำความสะอาดอีกด้วยแบบหลังนี้ถ้าไม่เคยเห็นลองไปดูรถ MERCEDES-BENZ หรือไม่ก็ BMW รุ่นเก่า ๆ ไส้กรองน้ำมันโซล่าส่วนใหญ่ผลิตมาจากกระดาษที่มีขนาดรูกรองหรือให้น้ำมันไหลผ่านได้ตามชอบใจ ไส้กรองกระดาษที่มีพื้นผิวมาก ๆ อายุการใช้งานก็ยิ่งนานขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของกระดาษและการม้วนกระดาษที่นำมาทำเป็นไส้กรองซึ่งยังแบ่งรูปแบบการม้วนไส้กรองได้ 2 แบบ คือ ม้วนแบบทรงกระบอกตรง ซึ่งจะใช้กระดาษนำมาม้วนรอบ ๆ ท่อ ขอบบนของกระดาษด้านนอกจะติดกับแผ่นถัดไปและด้านล่างขอบในจะติดกับแผ่นต่อไปเช่นกัน หากมองจากด้านบนลงไปรูปแบบจะคล้าย ๆ กระเป๋า น้ำมันเชื้อเพลิงจะไหลผ่านกรองจากด้านบนลงสู่ด้านล่าง อีกแบบคือไส้กรองแบบม้วนเป็นรูปทรงกระบอกแฉกจะใช้กระดาษนำมาม้วนเป็นแฉก ๆ คล้ายรูปดาวสวมอยู่รอบ ๆ ท่อที่เจาะรูส่วนด้านบนและด้านล่างจะมีฝาปิดน้ำมันเชื้อเพลิงที่กรองไหลจากด้านนอกเข้าสู่ด้านใน สิ่งสกปรกต่าง ๆ จะติดอยู่ที่ผิวนอกหรือตกลงสู่ด้านล่าง น้ำมันเชื้อเพลิงที่กรองแล้วจะไหลผ่านรูของท่อด้านในแล้วไหลไปทางข้างบน
เทคนิครถยนต์: หม้อกรองโซล่ามีอยู่ 3 แบบหลัก ๆ คือ 1.แบบกรองทางเดียว ประกอบไปด้วยฝาครอบที่มีรูเกลียวใช้สำหรับเป็นทางไหลเข้า-ออกของน้ำมันเชื้อเพลิง ด้านบนของเรือนไส้กรองที่ยึดไส้กรองจะมีรูน้ำมันเข้า 4 รูและรูเกลียวตรงกลางอีก 1 รู เป็นทางไหลออกของน้ำมันและใช้เป็นที่ยึดกับฝาครอบน้ำ ซึ่งอาจเล็ดลอดเข้าไปในตอนที่เติมน้ำมันรวมทั้งสิ่งสกปรกต่าง ๆ ที่ตกค้างอยู่ในน้ำมันเชื้อเพลิง จะถูกกักเอาไว้และปล่อยทิ้งออกไปได้ โดยการถอดปลั๊กอุดข้างใต้หม้อกรอง
เทคนิครถยนต์: แบบที่ 2 เป็นแบบกรองอันดับ วิธีการก็คือ น้ำมันเชื้อเพลิงจะไหลผ่านหม้อกรองตัวที่ 1 ซึ่งเป็นหม้อกรองหยาบ น้ำมันทั้งหมดจะไหลผ่านฝาครอบรวมของหม้อกรองทั้งสองไปยังหม้อกรองละเอียด ไส้กรองหยาบทำด้วยสักหลาดที่ม้วนรอบแผ่นโลหะทรงกระบอกเจาะรูไว้รอบ ๆ ไส้กรองแบบนี้สามารถทำความสะอาดได้ไม่เกิน 2 ครั้ง โดยล้างในน้ำมันดีเซลสะอาดเท่านั้น ยกเว้นในกรณีที่มีสิ่งสกปรกเกาะแบบยางมะตอยอันนี้อนุโลมให้ใช้น้ำมันเบนซินล้างได้ครับ หลังจากล้างทำสะอาดแล้วต้องใช้ลมเป่าจากด้านใน การล้างควรล้างอย่างน้อย 4-5 ครั้งในแต่ละเที่ยวเพื่อให้ไส้กรองสะอาดที่สุด
แบบที่ 3 หม้อกรองแบบกรองขนาน นิยมนำมาใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลที่มีแรงม้าเกิน 160 แรงม้า ด้วยรูปร่างภายนอกที่เหมือนกับแบบที่ 2 แต่แตกต่างกันที่ฝาครอบของชุดหม้อกรองจะแบ่งเป็นดังนี้ หม้อกรองทั้ง 2 ใบจะกรองสิ่งสกปรกในเวลาเดียวกัน ด้วยวิธีนี้จะทำให้มีพื้นที่ในการกรองสิ่งสกปรกมากยิ่งขึ้น เอาล่ะเป็นอันว่าจบเรื่องของรูปแบบไส้กรองรวมไปถึงหม้อกรองโซล่ากันแล้วนะ
เทคนิครถยนต์: ว่ากันต่อถึงอายุการใช้งานของกรองโซล่า โดยปกติแล้วในคู่มือที่ให้มาจากโรงงานผู้ผลิตส่วนใหญ่ระบุไว้ว่าควรเปลี่ยนกรองโซล่าทุก ๆ 40,000 กิโลเมตร หรือก่อนหน้านั้นตามสภาพการใช้งาน หรือถ้ายังไม่ถึงกำหนดระยะเวลาในการเปลี่ยนกรองโซล่าแต่กำลังของเครื่องยนต์ตกลงจากเดิมหรือน้ำมันเชื้อเพลิงไหลเข้าสู่ปั๊มหัวฉีดไม่ทันก็ควรรีบเปลี่ยนกรองโซล่าใหม่ทันที เพราะนั่นหมายถึงสภาพของกรองโซล่าเริ่มตันเนื่องจากพื้นที่ภายในของกรองเต็มไปด้วยสิ่งสกปรกต่าง ๆ ที่ปะปนมาในน้ำมันเชื้อเพลิง หรือไม่ก็เจอน้ำมันเชื้อเพลิงผสมมานั่นเอง กรรมวิธีในการเปลี่ยนกรองโซล่าลูกใหม่เมื่อถึงกำหนดระยะทางใช้งานรถหรือไม่ก็กรองโซ่ล่าตันนั้นง่ายมาก ๆ ขอบอกแต่ต้องมีเครื่องไม้เครื่องมือนิดหน่อยจะได้ทำงานได้ง่ายขึ้น ไอ้เจ้าเครื่องมือที่ว่านี้ก็คือ โซ่สำหรับถอดกรองน้ำมันเครื่องนั่นแหละครับหรือถ้าไม่มีเจ้านี่ก็หากระดาษทรายหยาบ ๆ เบอร์สัก 100 แต่ไม่เกิน 400 ก็พอใช้ได้ ขั้นตอนการเปลี่ยนก็ไม่มีอะไรมาก แถมพื้นที่การทำงานก็สะดวกไม่น้อยเพราะกรองโซล่าจะอยู่ในห้องเครื่อง ยกเว้นรถบางรุ่นที่ไปห้อยอยู่ใต้ท้องรถ เมื่อหามันเจอแล้วจัดการถอดปลั๊กอุดออกให้น้ำมันไหลออกมาพร้อมสิ่งสกปรกก่อนเป็นอันดับแรก ถ่ายน้ำมันเสร็จแล้วก็ลองดูว่าแถว ๆ ฝาครอบกรองหรือที่ตัวกรองมันมีชุดไฟของชุดสวิทช์เตือนว่ามีน้ำอยู่ในกรอง ถอดปลั๊กออก นำโซ่ถอดกรองคล้องรัดที่ตัวกรองโซล่าให้แน่นหนาแล้วบิดออกแบบทวนเข็มนาฬิกา ปกติมันจะถอดง่าย เวลาใส่กลับเข้าไปจะใช้เพียงแค่แรงขันจากมือเท่านั้น ถ้าไม่มีโซ่ถอดกรอง ให้ใช้ตัวช่วยอย่างกระดาษทราย ตัดหรือฉีกให้ได้ขนาดพอเหมาะมือพันรอบ ๆ ตัวกรองโซล่าแล้วใช้มือบิดตัวกรองโซล่าออกในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา
เทคนิครถยนต์: หลังจากถอดกรองโซล่าลูกเก่าออกแล้ว ก็ไปเอากรองโซล่าลูกใหม่ ถอดพลาสติกคลุมหน้าแปลนออกแล้วหาจาระบีหรือน้ำมันเครื่องก็ได้มาทารอบ ๆ โอริงป้องกันการรั่วซึม เสร็จแล้วก็นำเอาปลั๊กอุดรูถ่ายน้ำมันใส่กลับเข้าไปที่กรองลูกใหม่ นำไปใส่เข้ากลับฝาครอบกรองโซล่าโดยใช้มือเปล่าค่อย ๆ ไขกลับเข้าไปอย่าให้ปีนเกลียวไม่งั้นเดี๋ยวจะยุ่ง ไขไปเรื่อย ๆ จนเริ่มแน่นแล้วเอากระดาษทรายมาพันรอบ ๆ กรอง เสร็จแล้วก็บรรจงเกร็งข้อบิดให้แน่นอีกสัก 2-3 ครั้งก็เป็นอันเสร็จ
ต่อมาก็เป็นขั้นตอนในการปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงให้เข้ามาอยู่ในกรองโซล่าลูกใหม่ โดยปกติแล้วจะเป็นแบบ “ปั๊มแย็ก” ส่วนกระบะรุ่นใหม่บางตัวจะไม่มีปั๊มแย็กอันนี้เดี๋ยวจะบอกอีกทีหนึ่ง สำหรับรถกระบะที่มีปั๊มแย็กเมื่อทุกอย่างเสร็จสิ้นก็มาถึงขั้นตอนสุดท้ายจัดการใช้ฝ่ามือค่อย ๆ กดลงไปบนหัวปั๊มแย็กใช้วิธีกดปั๊มขึ้น-ลงไปเรื่อย ๆ จนมีความรู้สึกว่าตัวปั๊มเริ่มแข็งจนกดไม่ลงแล้วก็เป็นอันจบ จากนั้นจัดการบิดกุญแจสตาร์ทเครื่องลองดูว่าติดไหม ถ้าติดก็ลองเร่งเครื่องดูว่าลื่นขึ้นไหม ถ้าไม่ตดก็ต้องลงมาปั๊มอีกจนกว่าน้ำมันจะขึ้นมาเต็มในกรองโซล่า ส่วนพวกที่ไม่มีปั๊มแย็กนั้นให้ใช้วิธีบิดกุญแจไปที่ตำแหน่ง On เปิดค้างไว้สัก 4-5 วินาที แล้วก็บิดกลับมาที่ Off ทำอย่างนี้สัก 5-6 ครั้ง แล้วลองบิดกุญแจสตาร์ทเครื่อง ถ้าเครื่องติดก็เป็นอันจบแต่ถ้าไม่ติดก็กลับไปทำวิธีเดิมซ้ำอีกสัก 2-3 ครั้ง เดี๋ยวก็ติดเองแหละ
ฝุ่นผงที่ผสมอยู่ในน้ำมัน สามารถจะตัดโลหะภายในหัวฉีด ทำให้เกิดการรั่วภายในได้ โดยผงนั้นไม่ต้องใหญ่มากหรอกครับ
กรองเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลบางเครื่องในปัจจุบัน สามารถกรองได้ถึงสามในล้านส่วนของเมตร หรือ 3 ไมครอน แต่หากน้ำมันโซล่าที่ใช้นั้นสกปรก กรองก็จะตันเร็ว และเมื่อตันหรือฉีกขาดแล้ว เศษผงก็จะถูกดูดผ่านกรองเข้าไปได้ หัวฉีดก็มีโอกาสเสียหาย
วิธีป้องกันดีที่สุด ก็คือเปลี่ยนกรองเชื้อเพลิงเป็นประจำ และใช้น้ำมันดีเซลที่สะอาด จากสถานีบริการเชื้อเพลิงที่ไม่สกปรกด้วยเท่านั้นครับ
เท่าที่ผมทราบ จากการสำรวจของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศไทย พบว่าแม้น้ำมันดีเซลที่สะอาดก็ยังมีส่วนที่เป็นผงอยู่ด้วย เราเรียกกันว่า Asphaltines อันจะไปเกาะ และไปทำให้รูกรองของกรองเชื้อเพลิงกว้างขึ้นได้ และนอกจากนั้น ปัญหาของหัวฉีดในระยะแรกของการใช้เครื่องยนต์คอมมอนเรล ก็มาจากการเติมเชื้อเพลิงจากสถานีบริการที่เก่า ถังเก่า หรือใหม่เอี่ยมที่ไม่ได้เปลี่ยนกรองของปั๊มมานาน กับการเติมจากถังขององค์กรที่มีรถจำนวนมากใช้อยู่ โดยสั่งน้ำมันครั้งละมากมากนำไปเก็บใส่ถังใหญ่เพื่อเติมให้ และถังนั้น ไม่ได้รับการทำความสะอาดมาก่อนเลยก็มีมากเช่นกัน
ปัจจุบัน ถังเชื้อเพลิงของโซล่าตามสถานีบริการส่วนมาก ได้รับการทำความสะอาดแล้ว และกรองจากตัวปั๊มก็ได้รับการเปลี่ยนเป็นประจำกันเป็นส่วนใหญ่ อาจจะมีเหลือที่เจ้าของปั๊มไม่ยอมเปลี่ยนอยู่บ้าง ก็แล้วแต่โชคละมังครับ
น้ำที่ผสมในน้ำมันโซล่าก็สามารถกันกร่อนหรือฉีกโลหะให้ทะลุได้ ปกตินั้น น้ำจะถูกกักไว้ในกรองดักน้ำ การถ่ายน้ำทิ้งจึงเป็นสิ่งจำเป็นยิ่งสำหรับเครื่องยนต์ Common Rail เพราะเมื่อไรก็ตามที่กรองโซล่าทำท่าใกล้จะตัน น้ำจะมีโอกาสหลุดเข้าไปในระบบหัวฉีดได้เสมอ ถ่ายน้ำจากกรองดักน้ำ และเปลี่ยนกรองโซล่าประจำ เป็นสิ่งเดียวที่ช่วยคุณ และเครื่องยนต์อันทรงพลัง ราคาสูงของคุณได้
แต่บางท่าน ผู้ใช้รถยนต์เครื่องดีเซล แบบ Common Rail นี่นะครับ กลับเอาน้ำใส่เข้าในน้ำมันสะอาดของรถท่านเอง
ทำอย่างไร ก็ทำได้ด้วยการเลือกซื้อน้ำยาหรือน้ำมันแบบหัวเชื้อโซล่า ตามปั๊มที่เขาเสนอขายให้กับท่านนั่นแหละครับ หัวเชื้อพวกนี้ จะมีคุณสมบัติป้องกันการเติบโตของแบคทีเรียในน้ำมันดีเซล และยังได้รับการกล่าวอ้างเสมอว่าช่วยหล่อลื่นให้กับชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวในระบบเชื้อเพลิงอีกด้วย
ซึ่งจะช่วยได้หรือไม่นั้น ผมไม่เกี่ยวหรอก แต่เท่าที่ทราบอีกเหมือนกันนั้นก็คือว่า ในหัวเชื้อน้ำมันหรือตัวปรับสภาพน้ำมันดีเซลส่วนใหญ่ในท้องตลาด ใช้แอลกอฮอล์เป็นพื้นฐาน เมื่อเติมหัวเชื้อลงในถังเชื้อเพลิง แอลกอฮอล์ก็จะผสมกับน้ำในถังเชื้อเพลิงที่ปกติก็นอนก้นอยู่ดีๆ แล้วนำน้ำติดตามแอลกอฮอล์ออกไปสู่ระบบหัวฉีดด้วย
น้ำที่มากับแอลกอฮอล์นี่ ก็จะช่วยเร่งให้อายุของหัวฉีดสั้นลงครับ
ดังนั้น หากท่านอยากเติมหัวเชื้อ หรือน้ำยาปรับสภาพน้ำมันเชื้อเพลิงใจจะขาด ก็ขอให้ท่านอ่านข้างกระป๋องดูให้แน่ใจก่อนนะครับ ว่าผสมแอลกอฮอล์หรือมีพื้นฐานจากแอลกอฮอล์หรือไม่
ดีเซลรุ่นเก่าก่อน ไม่มีปัญหากับน้ำในระบบเชื้อเพลิง ด้วยว่าแรงดันในระบบต่ำเกินกว่าน้ำที่ผสมเข้าไป และฝุ่นผงจะชวนกันทำลายหัวฉีดของเครื่องยนต์ลงได้
แต่ดีเซลใหม่ๆ พวก Common Rail ไม่ว่าจะ Super หรืออะไรก็แล้วแต่ ถึงจะให้ผลทางด้านมลภาวะต่ำ อัตราสิ้นเปลืองดี หรือต่ำมาก ก็ยังต้องการความสนใจจากท่านผู้ใช้ ในด้านความสะอาดของเชื้อเพลิง และการดูแลรักษาด้วยครับ