ปัญหาข้อขัดข้องของคลัตช์
เมื่อเกิดปัญหาข้อขักข้องขึน้กับคลัตช์ อันดับแรกจะต้องตรวจอาการที่เกิดชึ้นก่อนแต่ถ้าอาการที่เกิดขึ้นไม่เด่นชัดจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแยกปัญหาและวินิจฉัยสาเหตุที่แท้จริงให้พบเสียก่อนแต่อย่างไรก็ตามควรตรวจสอบชิ้นส่วนต่างๆตามตำแหน่งที่น่าจะเกิดปัญหาซึ่งจะเป็นการหาสาเหตุได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องแต่ถ้าไม่พบอาการผิดปกติใดๆในระบบของคลัตช์ ให้ตรวจสอบปัญหาต่อไปนี้
1. ปัญหาที่เกิดขึ้นขณะเหยียบคลัตช์ให้จากแต่ไม่สามารถเข้าเกียร์ได้ ควรตรวจสอบดังนี้
-ระยะความสูงของแป้นคลุตช์ ถ้ามีน้อยเกินไป เป็นสาเหตุให้คลัตช์ไม่สามรถจากได้เต็มที่เมื่อเหยียบแป้นคลัตช์ให้จมถึงพื้นก็ตาม
- ถ้ามีระยะฟรีของแป้นเหยียบคลัตช์มากเกินไป จะทำให้คลัตช์จากออกไม่เต็มที่แม้ว่าจะเหยียบคลัตช์จนสุดแล้วก้ตาม แต่ถ้าเป็นคลัตช์แบบไฮดรอลิกส์ จะต้องปรับตั้งระยะฟรีของก้านดันและระยะฟรีของก้ามปูกดคลัตช์
- ตรวจสอบอากาศในระบบคลัตช์ โดยย้ำคลัตช์หลายๆครั้งและทดลองเปลี่ยนเกียร์ถ้าไม่สามารถเข้าเกียร์ได้ง่ายนั่นแสดงว่ามีอากาศอยู่ในน้ำมันไฮดรอลิก ดังนั้นจึงควรไล่อากาศออกไปให้หมด
- ตรวจการรั่วของน้ำมันไอดรอลิกที่แม่ปั๊มและปั๊มตัวล่างของคลัตช์ ซึ่งสาเหตุที่น้ำมันรั่วเกิดจากการชำรุดของลูกยางคลัตช์ กระบอกปั๊มคลัตช์ ให้ตรวจสอบปัญหายี้ได้ที่บริเวณแม่ปั๊มและปั๊มคลัตช์ตัวล่าง จะมรฝุ่นจับอยู่ที่ยางกันฝุ่นเป็นจำนวนมาก
- ตรวจความโก่ง การสึกหรอ หรือชำรุดของแผ่นคลัตช์
หากตรวจสอบจากหัวข้อที่กล่าวไปแล้วข้างต้นและคลัตช์เป็นปกติให้หาสาเหตุข้อขัดข้องจากกระปุกเกียร์ต่อไป
2.ปัญหาที่เกิดจากคลัตช์ลื่น ควรตรวจสอบดังนี้
- ตรวจสอบระยะฟรีของแป้นคลัตช์ คลัตช์จะต้องมีระยะฟรี ถ้าหากไม่มีระยะฟรี ก้ามปูกดคลัตช์จะถูกกดอยู่ตลอดเวลา เป็นสาเหตุให้แผ่นกคลัตช์ไม่กดแผ่นคลัตช์ให้แนบสนิทกับล้อช่วยแรง
- ตรวจสอบผิวของแผ่นคลัตช์ ถ้าผิวของแผ่นคลัตช์มีคราบน้ำมันจับอยู่ที่ผิวหน้า อาจเป็นสาเหตุมาจากน้ำมันเกียร์รั่วผ่านซีลเกียร์ ในระหว่างตรวจสอบควรทำความสะอาดก่อนประกอบ
- แผ่นคลัตช์สึกมากเกินค่าที่กำหนดไว้
- สปริงหรืแผ่นไดอะแฟรมของแผ่นกดคลัตช์สึกหรอ
3.คลัตช์เกิดอาการสั่นและกระตุก มีสาเหตุมาจาก
- แผ่นคลัตช์มีคราบน้ำมันจับหรือผิวของแผ่นคลัตช์แข็ง ลูกยางรับแรงบิดแตก หมุดย้ำหลวม
- สปริงหรือแผ่นไดอะแฟรมของแผ่นกดคลัตช์มีความสูงไม่เท่ากันหรือสึกหรอ
4.คลัตชืมีเสียงดัง มีสาเหตุมาจาก
- ชิ้นส่วนที่มีการหมุนหลวม เช่น ลูกปืนคลัตช์
- ปลอกลูกปืนคลัตช์สึกหรอ
- เกิดความฝืดของสายคลัตช์ ก้ามปูคลัตช์และตีนขาดการหล่อลื่น
การตรวจสอบคลัตช์บนรถยนต์
การตรวจสอบการทำงานของคลัตช์บนรถยนตืเพื่อให้เข้าใจถึงอาการที่แสดงออกซึ่งเกิดจากปัญหาของส่วนประกอบของคลัตช์และหาสาเหตุบริเวณที่เกิดปัญหาได้อย่างถูกต้อง
ปัญหาที่เกิดจากคลัตช์เมื่อทดสอบคือบนรถยนต์คือ
1.ปัญหาการเข้าเกียร์ เกิดจากคลัตช์ไม่จากหรือไม่มีเสียงดังวิธีวินิจฉัยปัญหาสามารถปฏิบัติได้ดังนี้
- ใส่ที่กั้นล้อทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
- ดึงเบรกมือให้สุด
- เกียร์อยู่ในตำแหน่งเกียร์ว่าง สตาร์ตเครื่องยนต์และเหยียบแป้นคลัตช์ให้สุด
- ปล่อยแป้นเหยียบคลัตช์
- ดันคันเกียร์ไปในตำแหน่งเกียร์ถอยหลังอย่างช้าๆ และเบาๆ โดยไม่ต้องเหยียบคลัตช์ซ้ำอีก และรอจนกระทั่งเกิดเสียงดังขึ้นที่เกียร์
- เมื่อเกิดเสียงดังขึ้นที่เกียร์ ให้เหยียบคลัตช์ลงอย่างช้าๆ ถ้าเสียงดังจากเกียร์เงียบและสามารถเปลี่ยนเกียร์ได้อย่างนุ่มนวลนั่นแสดงว่าเกิดปัญหาขัดข้องมาจากคลัตช์ในขณะจากออก
2. คลัตช์ลื่น อาการที่พบได้จากปัญหานี้คือ
- เมื่อเร่งเครื่องยนต์ในทันที ความเร็วรอบที่เพิ่มขึ้นจะไม่สอดคล้องกันกับความเร็วของรถ
- มีกลิ่นไหม้ของคลัตช์
- กำลังเครื่องยนต์ลดลงเมื่อขับรถขึ้นที่สูง ดังนั้นวิธีวินิจฉัยปัญหาจึงมีดังนี้
* ใส่ที่กั้นทั้งล้อหน้าและล้อหลัง
* ดึงเบรกมือให้สุด
* สตาร์ตเครื่องยนต์และเหยียบคลัตช์
* เปลี่ยนเกียร์ไปในตำแหน่งเกียร์สูง
* เหยียบคันเร่งให้รอบเครื่องยนต์สูงขึ้นทีละน้อยและปล่อยคลัตช์อย่างช้าๆ ถ้าเครื่องยนต์ดับ นั่นแสดงว่าไม่เกิดปัญหาจากคลัตช์ลื่น
3.ปัญหาที่เกิดขณะคลัตช์จับ มีวิธีวินิจฉัยปัญหาดังนี้
- เอาเครื่องกั้นล้อทั้งด้านหน้าและด้านหลังออก จากนั้นให้เหยียบแป้นคลัตช์ ดันคันเกียร์ไปในตำแหน่งเกียร์ต่ำ (เกียร์ 1 และ 2 )
- สตาร์ตเครื่องยนต์และปล่อยคลัตช์อย่างช้าๆ ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับการจับของคลัตช์ รถยนต์จะต้องเคลื่อนที่ออกโดยไม่มีอาการสั่นเกิดขึ้น
การถอดและประกอบคลัตช์แบบไดอะแฟรมสปริง
การถอดและประกอบคลัตช์จะกระทำได้ต่อเมื่อเกิดอาการคลัตช์ลื่นหรือไม่สามารถเข้าเกียร์ได้ ดังนั้นก่อนที่จะถอดชิ้นส่วนต่างๆ ของคลัตช์แบบไดอะแฟรมสปริง จำเป็นที่จะต้องศึกษาโครงสร้างการทำงานและส่วนประกอบให้ได้อย่างถ่องแท้ เนื่องจากเมื่ทำการถอด จะได้ไม่ทำให้ชิ้นส่วนอื่นเช่นเกียร์เกิดความเสียหายได้
1.การถอดคลัตช์แบบไดอะแฟรมสปริง สามารถปฏิบัติได้ตามลำดับดังนี้
- ทำเครื่องหมายลงบนฝาครอบคลัตช์และล้อช่วยแรง
- คลายนอตยึดแต่ละตัวทีละรอบจนแผ่นคลัตช์คลายตัว
- ถอดโบลด์ยึดออกและดึงฝาครอบคลัตช์พร้อมแผ่นคลัตช์ออก
- ถอดคลิปล็อคลูกปืนและดึงลูกปืนออก
- ถอดก้ามปูและยางกันฝุ่นออก
2.การตรวจสอบส่วนประกอบของคลัตช์แบบไดอะแฟรมสปริง ภายหลังจากการถอดคลัตช์ออกแล้ว ให้ทำความสะอาดและตรวจสอบชิ้นส่วนเสียก่อน ถ้าพบชิ้นส่วนที่ไม่ได้ตามค่าที่กำหนดควรเปลี่ยนใหม่
ดังนั้นการตรวจสอบชิ้นส่วนของคลัตช์แบบไดอะแฟรมสปริงจึงมีขั้นตอนดังนี้
- ใช้วอร์เนียร์วัดความลึกของหัวหมุดย้ำ ค่าความลึกสูงสุดของหัวหมุดย้ำประมาณ 0.3 มิลลิเมตร
- ใช้ไดอัลเกจตรวจสอบความบิดเบี้ยวของแผ่นคลัตช์ ค่าความบิดเบี้ยวสูงสุด 0.8มิลลิเมตร
- ใช้ไดอัลเกจตรวจสอบความบิดเบี้ยวของล้อช่วยแรง ค่าบิดเบี้ยวสูงสุดประมาณ 0.2 มิลลิเมตร
- หมุนลูกปืนปลายเกียร์ที่ล้อช่วยแรง ถ้าลูกปืนติดขัดหรือยึดติดให้เปลี่ยนใหม่
- ถ้ามีความจำเป็นต้องเปลี่ยนลูกปืนปลายเกียร์ ให้ใช้พูลเลย์ดูดลูกปืนปลายเกีย
- เมื่อเปลี่ยนลูกปืนปลายเกียร์ ให้ใช้เครื่องมือประกอบลูกปืนเข้าที่ดุม
- ใช้เวอร์เนียร์วัดความลึกและการสึกหรอของไดอะแฟรมสปริง
- หมุนลูกปืนกดคลัตช์ไปในทิศทางการหมุน ถ้าลูกปืนติดขัดหรือยึด ให้เปลี่ยนลูกปืนคลัตช์ใหม่
3. การประกอบคลัตช์แบบไดอะแฟรมสปริง สามารถปฏบัติย้อนกลับตามลำดับขั้นตอนการถอดดังนี้
- ใช้เครื่องมือประกอบแผ่นคลัตช์เข้ากับล้อช่วยแรง
- จัดเครื่องหมายที่ทำไว้บนฝาครอบคลัตช์กับล้อช่วยแรงให้ตรงกัน
- ขันโบลด์ยึดฝาครอบคลัตช์กับล้อช่วยแรงด้วยแรงกวดขันโบลด์ที่เท่ากันทุกตัวจนกว่าแผ่นคลัตช์จะแนบสนิท
- ทาจารบีเอนกประสงค์ที่ก้ามปูกดคลัตช์และจุดสัมผัสทั้งหมดของคลัตช์
- ประกอบยางกันฝุ่นก้ามปู ดุม และลูกปืนกดคลัตช์
4. การถอดและประกอบคลัตช์แบบขดลวดสปริง เมื่อมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแผ่นคลัตช์ ฝาครอบคลัตช์ และ ตีนผี อย่างใดอย่างหนึ่งออก แต่ทำไม่ได้ จึงต้องทำการถอดชิ้นส่วนต่างๆที่ทำงานร่วมกันออก
5.การถอดแยกคลัตช์แบบขดลวดสปริง การถอดแยกคลัตช์แบบขดลวดสปริงสามารถปฏิบัติได้ดังต่อไปนี้ ก่อนถอดแยกชิ้นส่วนต่างๆ ของคลัตช์จะต้องทำเครื่องหมายลงที่ฝาครอบและจานกดคลัตช์เสียก่อนแต่ถ้าใช้เครื่องอัดไฮดรอลิกเพื่อถอดแยกชิ้นส่วนต่างๆของคลัตช์จะต้องใช้ไม้ที่มีขนาดเท่ากัน 3 แผ่นรองด้านใต้จานกดคลัตช์และฝาครอบคลัตช์ จากนั้นกดฝาครอบคลัตช์ลงด้วยแรงดันไฮดรอลิก และคลายโบลด์ยึดฝาครอบคลัตช์และปรับตั้งตีนผี
6.การตรวจสอบจานกดคลัตช์ ฝาครอบคลัตช์และตีนผี เมื่อถอดแยกฝาครอบคลัตช์ออกให้ตรวจสอบผิวหน้าสัมผัสของจานกดคลัตช์ จะต้องไม่มีรอยร้าว รอยสึกหรอ รอยไหม้ และการล้าตัวของขดลวดสปริง เมื่อประกอบจานกดคลัตช์และฝาครอบคลัตช์เข้าด้วยกันจะต้องให้เครื่องหมายที่ทำไว้ตรงกัน ทาจารบีลิเทียมที่จุดยึดตีนผีและใช้ฟิลเลอรืเกจวัดช่องว่างระหว่างตีนผีกับฝาครอบคลัตช์
7.การปรับตั้งตีนผีของคลัตช์แบบขดลวดสปริง เมื่อปล่อยแป้นเหยียบคลัตช์จานกดคลัตช์จะต้องมีแรงกดที่แผ่นคลัตช์โดยรอบที่เท่ากัน ซึ่งก็จะส่งผลให้การถ่ายทอดแรงบิดจากเครื่องยนต์ไปยังกระปุกเกียร์เป็นไปอย่างราบเรียบ จากสาเหตุนี้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับตั้งตีนผีของคลัตช์ให้มีระดับที่เท่ากันทุกตัวเสียก่อนซึ่งก้มีวิธีการปรับตั้งดังต่อไปนี้
ติดตั้งฝาครอบคลัตช์และแผ่นคลัตช์เข้ากับล้อช่วยแรง ขันโบลด์ยึดฝาครอบคลัตช์ทุกตัวสลับกันจนแน่น จากนั้นให้ใช้ไม้บรรทัดเหล็กทาบลงที่ฝาครอบคลัตช์ และวัดระยะห่างระหว่างตีนผีกับไม้บรรทัดเหล็กจะต้องได้ค่าตามที่กำหนดไว้ทั้งสามตัว แต่ถ้าระยะห่างไม่ได้ตามที่กำหนด ให้ขันนอตเข้าหรือคลายนอตออกปรับตั้งตีนผี
การถอดและประกอบแม่ปั๊มคลัตช์
การถอด - ประกอบและตรวจสอบแม่ปั๊มคลัตช์จะสามารถกระทำได้เมื่อแม่ปั๊มคลัตช์เกิดการรั่วของน้ำมันไฮดรอลิกซึ่งมีสาเหตุมาจากเกิดรอยขีดข่วนหรือสนิมและลูกยางบวม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเปลี่ยนชิ้นส่วนต่างๆเพือ่ให้แม่ปั๊มคลัตช์มีสภาพที่ใช้งานได้ดังเดิม
1.การถอดปั๊มคลัตช์ สามารถปฏิบัติได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
- ถอดสลักล็อคก้านดัน
- ใช้ประแจปลดนอตหัวต่อท่อทางน้ำมันคลัดช์
- ถอดนอตยึดแม่ปั๊มคลัตช์และดึงแม่ปั๊มออก
2.การถอดแยกแม่ปั๊มคลัตช์ สามารถปฏิบัติได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
- ใช้ค้อนและเหล็กส่งตอกสลักยึดถ้วยน้ำมันคลัตช์
- ถอดถ้วยน้ำมันคลัตช์และยางรอง
- ดึงยางกันฝุ่นและใช้คีมถ่างแหวนถอดแหวนล็อคออก
- ดึงก้านดัน แหวนรอง และลูกสูบออกจากกระบอกแม่ปั๊ม
3.การประกอบแม่ปั๊มคลัตช์ หลังจากทำความสะอาดชิ้นส่วนที่ถอดแยกออกและตรวจสอบการสึกกร่อนของกระบอกแม่ปั๊มคลัตช์ การบวมหรือรอยสึกหรอของลูกสูบ และการเปลี่ยนชิ้นส่วนแล้ว ในการประกอบแม่ปั๊มคลัตช์ ให้ปฏิบัติตามลำดับย้อนกลับการถอดแยกดังนี้
- เคลือบจาระบีที่ลูกสูบและลูกยางปั๊ม
- ประกอบลูกสูบ ก้านดันพร้อมแหวนล็อค
- ประกอบถ้วยน้ำมัน ยางรองอันใหม่ และใช้ค้อนและเหล็กส่งตอกสลักล็อคเข้า
การถอดและประกอบปั๊มคลัตช์ตัวล่าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น