วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555

การแก้ปัญหาข้อขัดข้องของระบบส่งกำลังยนต์

                ปัญหาข้อขัดข้องของคลัตช์
เมื่อเกิดปัญหาข้อขักข้องขึน้กับคลัตช์ อันดับแรกจะต้องตรวจอาการที่เกิดชึ้นก่อนแต่ถ้าอาการที่เกิดขึ้นไม่เด่นชัดจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแยกปัญหาและวินิจฉัยสาเหตุที่แท้จริงให้พบเสียก่อนแต่อย่างไรก็ตามควรตรวจสอบชิ้นส่วนต่างๆตามตำแหน่งที่น่าจะเกิดปัญหาซึ่งจะเป็นการหาสาเหตุได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องแต่ถ้าไม่พบอาการผิดปกติใดๆในระบบของคลัตช์ ให้ตรวจสอบปัญหาต่อไปนี้
1. ปัญหาที่เกิดขึ้นขณะเหยียบคลัตช์ให้จากแต่ไม่สามารถเข้าเกียร์ได้  ควรตรวจสอบดังนี้
 -ระยะความสูงของแป้นคลุตช์ ถ้ามีน้อยเกินไป เป็นสาเหตุให้คลัตช์ไม่สามรถจากได้เต็มที่เมื่อเหยียบแป้นคลัตช์ให้จมถึงพื้นก็ตาม
 - ถ้ามีระยะฟรีของแป้นเหยียบคลัตช์มากเกินไป จะทำให้คลัตช์จากออกไม่เต็มที่แม้ว่าจะเหยียบคลัตช์จนสุดแล้วก้ตาม แต่ถ้าเป็นคลัตช์แบบไฮดรอลิกส์ จะต้องปรับตั้งระยะฟรีของก้านดันและระยะฟรีของก้ามปูกดคลัตช์
 - ตรวจสอบอากาศในระบบคลัตช์ โดยย้ำคลัตช์หลายๆครั้งและทดลองเปลี่ยนเกียร์ถ้าไม่สามารถเข้าเกียร์ได้ง่ายนั่นแสดงว่ามีอากาศอยู่ในน้ำมันไฮดรอลิก ดังนั้นจึงควรไล่อากาศออกไปให้หมด
 - ตรวจการรั่วของน้ำมันไอดรอลิกที่แม่ปั๊มและปั๊มตัวล่างของคลัตช์ ซึ่งสาเหตุที่น้ำมันรั่วเกิดจากการชำรุดของลูกยางคลัตช์ กระบอกปั๊มคลัตช์ ให้ตรวจสอบปัญหายี้ได้ที่บริเวณแม่ปั๊มและปั๊มคลัตช์ตัวล่าง จะมรฝุ่นจับอยู่ที่ยางกันฝุ่นเป็นจำนวนมาก
 - ตรวจความโก่ง การสึกหรอ หรือชำรุดของแผ่นคลัตช์
หากตรวจสอบจากหัวข้อที่กล่าวไปแล้วข้างต้นและคลัตช์เป็นปกติให้หาสาเหตุข้อขัดข้องจากกระปุกเกียร์ต่อไป
2.ปัญหาที่เกิดจากคลัตช์ลื่น  ควรตรวจสอบดังนี้
 - ตรวจสอบระยะฟรีของแป้นคลัตช์ คลัตช์จะต้องมีระยะฟรี ถ้าหากไม่มีระยะฟรี ก้ามปูกดคลัตช์จะถูกกดอยู่ตลอดเวลา เป็นสาเหตุให้แผ่นกคลัตช์ไม่กดแผ่นคลัตช์ให้แนบสนิทกับล้อช่วยแรง
 - ตรวจสอบผิวของแผ่นคลัตช์ ถ้าผิวของแผ่นคลัตช์มีคราบน้ำมันจับอยู่ที่ผิวหน้า อาจเป็นสาเหตุมาจากน้ำมันเกียร์รั่วผ่านซีลเกียร์ ในระหว่างตรวจสอบควรทำความสะอาดก่อนประกอบ
 - แผ่นคลัตช์สึกมากเกินค่าที่กำหนดไว้
 - สปริงหรืแผ่นไดอะแฟรมของแผ่นกดคลัตช์สึกหรอ
3.คลัตช์เกิดอาการสั่นและกระตุก  มีสาเหตุมาจาก
 - แผ่นคลัตช์มีคราบน้ำมันจับหรือผิวของแผ่นคลัตช์แข็ง ลูกยางรับแรงบิดแตก หมุดย้ำหลวม
 - สปริงหรือแผ่นไดอะแฟรมของแผ่นกดคลัตช์มีความสูงไม่เท่ากันหรือสึกหรอ
4.คลัตชืมีเสียงดัง  มีสาเหตุมาจาก
 - ชิ้นส่วนที่มีการหมุนหลวม เช่น ลูกปืนคลัตช์
 - ปลอกลูกปืนคลัตช์สึกหรอ
 - เกิดความฝืดของสายคลัตช์ ก้ามปูคลัตช์และตีนขาดการหล่อลื่น
                    การตรวจสอบคลัตช์บนรถยนต์
การตรวจสอบการทำงานของคลัตช์บนรถยนตืเพื่อให้เข้าใจถึงอาการที่แสดงออกซึ่งเกิดจากปัญหาของส่วนประกอบของคลัตช์และหาสาเหตุบริเวณที่เกิดปัญหาได้อย่างถูกต้อง
        ปัญหาที่เกิดจากคลัตช์เมื่อทดสอบคือบนรถยนต์คือ

1.ปัญหาการเข้าเกียร์ เกิดจากคลัตช์ไม่จากหรือไม่มีเสียงดังวิธีวินิจฉัยปัญหาสามารถปฏิบัติได้ดังนี้
 - ใส่ที่กั้นล้อทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
 - ดึงเบรกมือให้สุด
 - เกียร์อยู่ในตำแหน่งเกียร์ว่าง สตาร์ตเครื่องยนต์และเหยียบแป้นคลัตช์ให้สุด
 - ปล่อยแป้นเหยียบคลัตช์
 - ดันคันเกียร์ไปในตำแหน่งเกียร์ถอยหลังอย่างช้าๆ และเบาๆ โดยไม่ต้องเหยียบคลัตช์ซ้ำอีก และรอจนกระทั่งเกิดเสียงดังขึ้นที่เกียร์
 - เมื่อเกิดเสียงดังขึ้นที่เกียร์ ให้เหยียบคลัตช์ลงอย่างช้าๆ ถ้าเสียงดังจากเกียร์เงียบและสามารถเปลี่ยนเกียร์ได้อย่างนุ่มนวลนั่นแสดงว่าเกิดปัญหาขัดข้องมาจากคลัตช์ในขณะจากออก
2. คลัตช์ลื่น อาการที่พบได้จากปัญหานี้คือ
 - เมื่อเร่งเครื่องยนต์ในทันที ความเร็วรอบที่เพิ่มขึ้นจะไม่สอดคล้องกันกับความเร็วของรถ
 - มีกลิ่นไหม้ของคลัตช์
 - กำลังเครื่องยนต์ลดลงเมื่อขับรถขึ้นที่สูง  ดังนั้นวิธีวินิจฉัยปัญหาจึงมีดังนี้
     * ใส่ที่กั้นทั้งล้อหน้าและล้อหลัง
     * ดึงเบรกมือให้สุด
     * สตาร์ตเครื่องยนต์และเหยียบคลัตช์
     * เปลี่ยนเกียร์ไปในตำแหน่งเกียร์สูง
     * เหยียบคันเร่งให้รอบเครื่องยนต์สูงขึ้นทีละน้อยและปล่อยคลัตช์อย่างช้าๆ ถ้าเครื่องยนต์ดับ นั่นแสดงว่าไม่เกิดปัญหาจากคลัตช์ลื่น
3.ปัญหาที่เกิดขณะคลัตช์จับ   มีวิธีวินิจฉัยปัญหาดังนี้
 - เอาเครื่องกั้นล้อทั้งด้านหน้าและด้านหลังออก จากนั้นให้เหยียบแป้นคลัตช์ ดันคันเกียร์ไปในตำแหน่งเกียร์ต่ำ  (เกียร์ 1 และ 2 )
 - สตาร์ตเครื่องยนต์และปล่อยคลัตช์อย่างช้าๆ ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับการจับของคลัตช์ รถยนต์จะต้องเคลื่อนที่ออกโดยไม่มีอาการสั่นเกิดขึ้น
                     การถอดและประกอบคลัตช์แบบไดอะแฟรมสปริง
            การถอดและประกอบคลัตช์จะกระทำได้ต่อเมื่อเกิดอาการคลัตช์ลื่นหรือไม่สามารถเข้าเกียร์ได้ ดังนั้นก่อนที่จะถอดชิ้นส่วนต่างๆ ของคลัตช์แบบไดอะแฟรมสปริง จำเป็นที่จะต้องศึกษาโครงสร้างการทำงานและส่วนประกอบให้ได้อย่างถ่องแท้ เนื่องจากเมื่ทำการถอด จะได้ไม่ทำให้ชิ้นส่วนอื่นเช่นเกียร์เกิดความเสียหายได้
1.การถอดคลัตช์แบบไดอะแฟรมสปริง สามารถปฏิบัติได้ตามลำดับดังนี้
 - ทำเครื่องหมายลงบนฝาครอบคลัตช์และล้อช่วยแรง
 - คลายนอตยึดแต่ละตัวทีละรอบจนแผ่นคลัตช์คลายตัว
 - ถอดโบลด์ยึดออกและดึงฝาครอบคลัตช์พร้อมแผ่นคลัตช์ออก
 - ถอดคลิปล็อคลูกปืนและดึงลูกปืนออก
 - ถอดก้ามปูและยางกันฝุ่นออก
2.การตรวจสอบส่วนประกอบของคลัตช์แบบไดอะแฟรมสปริง  ภายหลังจากการถอดคลัตช์ออกแล้ว ให้ทำความสะอาดและตรวจสอบชิ้นส่วนเสียก่อน ถ้าพบชิ้นส่วนที่ไม่ได้ตามค่าที่กำหนดควรเปลี่ยนใหม่
    ดังนั้นการตรวจสอบชิ้นส่วนของคลัตช์แบบไดอะแฟรมสปริงจึงมีขั้นตอนดังนี้
 - ใช้วอร์เนียร์วัดความลึกของหัวหมุดย้ำ  ค่าความลึกสูงสุดของหัวหมุดย้ำประมาณ 0.3 มิลลิเมตร
 - ใช้ไดอัลเกจตรวจสอบความบิดเบี้ยวของแผ่นคลัตช์  ค่าความบิดเบี้ยวสูงสุด 0.8มิลลิเมตร
 - ใช้ไดอัลเกจตรวจสอบความบิดเบี้ยวของล้อช่วยแรง  ค่าบิดเบี้ยวสูงสุดประมาณ 0.2 มิลลิเมตร
 - หมุนลูกปืนปลายเกียร์ที่ล้อช่วยแรง ถ้าลูกปืนติดขัดหรือยึดติดให้เปลี่ยนใหม่
 - ถ้ามีความจำเป็นต้องเปลี่ยนลูกปืนปลายเกียร์ ให้ใช้พูลเลย์ดูดลูกปืนปลายเกีย
 - เมื่อเปลี่ยนลูกปืนปลายเกียร์ ให้ใช้เครื่องมือประกอบลูกปืนเข้าที่ดุม
 - ใช้เวอร์เนียร์วัดความลึกและการสึกหรอของไดอะแฟรมสปริง
 - หมุนลูกปืนกดคลัตช์ไปในทิศทางการหมุน ถ้าลูกปืนติดขัดหรือยึด ให้เปลี่ยนลูกปืนคลัตช์ใหม่
3. การประกอบคลัตช์แบบไดอะแฟรมสปริง  สามารถปฏบัติย้อนกลับตามลำดับขั้นตอนการถอดดังนี้
 - ใช้เครื่องมือประกอบแผ่นคลัตช์เข้ากับล้อช่วยแรง
 - จัดเครื่องหมายที่ทำไว้บนฝาครอบคลัตช์กับล้อช่วยแรงให้ตรงกัน
 - ขันโบลด์ยึดฝาครอบคลัตช์กับล้อช่วยแรงด้วยแรงกวดขันโบลด์ที่เท่ากันทุกตัวจนกว่าแผ่นคลัตช์จะแนบสนิท
 - ทาจารบีเอนกประสงค์ที่ก้ามปูกดคลัตช์และจุดสัมผัสทั้งหมดของคลัตช์
 - ประกอบยางกันฝุ่นก้ามปู ดุม และลูกปืนกดคลัตช์
4. การถอดและประกอบคลัตช์แบบขดลวดสปริง  เมื่อมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแผ่นคลัตช์ ฝาครอบคลัตช์  และ ตีนผี อย่างใดอย่างหนึ่งออก แต่ทำไม่ได้ จึงต้องทำการถอดชิ้นส่วนต่างๆที่ทำงานร่วมกันออก
5.การถอดแยกคลัตช์แบบขดลวดสปริง การถอดแยกคลัตช์แบบขดลวดสปริงสามารถปฏิบัติได้ดังต่อไปนี้  ก่อนถอดแยกชิ้นส่วนต่างๆ ของคลัตช์จะต้องทำเครื่องหมายลงที่ฝาครอบและจานกดคลัตช์เสียก่อนแต่ถ้าใช้เครื่องอัดไฮดรอลิกเพื่อถอดแยกชิ้นส่วนต่างๆของคลัตช์จะต้องใช้ไม้ที่มีขนาดเท่ากัน 3 แผ่นรองด้านใต้จานกดคลัตช์และฝาครอบคลัตช์ จากนั้นกดฝาครอบคลัตช์ลงด้วยแรงดันไฮดรอลิก และคลายโบลด์ยึดฝาครอบคลัตช์และปรับตั้งตีนผี
6.การตรวจสอบจานกดคลัตช์ ฝาครอบคลัตช์และตีนผี  เมื่อถอดแยกฝาครอบคลัตช์ออกให้ตรวจสอบผิวหน้าสัมผัสของจานกดคลัตช์ จะต้องไม่มีรอยร้าว รอยสึกหรอ รอยไหม้ และการล้าตัวของขดลวดสปริง  เมื่อประกอบจานกดคลัตช์และฝาครอบคลัตช์เข้าด้วยกันจะต้องให้เครื่องหมายที่ทำไว้ตรงกัน ทาจารบีลิเทียมที่จุดยึดตีนผีและใช้ฟิลเลอรืเกจวัดช่องว่างระหว่างตีนผีกับฝาครอบคลัตช์
7.การปรับตั้งตีนผีของคลัตช์แบบขดลวดสปริง  เมื่อปล่อยแป้นเหยียบคลัตช์จานกดคลัตช์จะต้องมีแรงกดที่แผ่นคลัตช์โดยรอบที่เท่ากัน ซึ่งก็จะส่งผลให้การถ่ายทอดแรงบิดจากเครื่องยนต์ไปยังกระปุกเกียร์เป็นไปอย่างราบเรียบ จากสาเหตุนี้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับตั้งตีนผีของคลัตช์ให้มีระดับที่เท่ากันทุกตัวเสียก่อนซึ่งก้มีวิธีการปรับตั้งดังต่อไปนี้
        ติดตั้งฝาครอบคลัตช์และแผ่นคลัตช์เข้ากับล้อช่วยแรง ขันโบลด์ยึดฝาครอบคลัตช์ทุกตัวสลับกันจนแน่น จากนั้นให้ใช้ไม้บรรทัดเหล็กทาบลงที่ฝาครอบคลัตช์ และวัดระยะห่างระหว่างตีนผีกับไม้บรรทัดเหล็กจะต้องได้ค่าตามที่กำหนดไว้ทั้งสามตัว  แต่ถ้าระยะห่างไม่ได้ตามที่กำหนด ให้ขันนอตเข้าหรือคลายนอตออกปรับตั้งตีนผี
                    การถอดและประกอบแม่ปั๊มคลัตช์
     การถอด - ประกอบและตรวจสอบแม่ปั๊มคลัตช์จะสามารถกระทำได้เมื่อแม่ปั๊มคลัตช์เกิดการรั่วของน้ำมันไฮดรอลิกซึ่งมีสาเหตุมาจากเกิดรอยขีดข่วนหรือสนิมและลูกยางบวม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเปลี่ยนชิ้นส่วนต่างๆเพือ่ให้แม่ปั๊มคลัตช์มีสภาพที่ใช้งานได้ดังเดิม
1.การถอดปั๊มคลัตช์  สามารถปฏิบัติได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
 - ถอดสลักล็อคก้านดัน
 - ใช้ประแจปลดนอตหัวต่อท่อทางน้ำมันคลัดช์
 - ถอดนอตยึดแม่ปั๊มคลัตช์และดึงแม่ปั๊มออก
2.การถอดแยกแม่ปั๊มคลัตช์ สามารถปฏิบัติได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
 - ใช้ค้อนและเหล็กส่งตอกสลักยึดถ้วยน้ำมันคลัตช์
 - ถอดถ้วยน้ำมันคลัตช์และยางรอง
 - ดึงยางกันฝุ่นและใช้คีมถ่างแหวนถอดแหวนล็อคออก
 - ดึงก้านดัน แหวนรอง และลูกสูบออกจากกระบอกแม่ปั๊ม
3.การประกอบแม่ปั๊มคลัตช์  หลังจากทำความสะอาดชิ้นส่วนที่ถอดแยกออกและตรวจสอบการสึกกร่อนของกระบอกแม่ปั๊มคลัตช์ การบวมหรือรอยสึกหรอของลูกสูบ และการเปลี่ยนชิ้นส่วนแล้ว ในการประกอบแม่ปั๊มคลัตช์ ให้ปฏิบัติตามลำดับย้อนกลับการถอดแยกดังนี้
 - เคลือบจาระบีที่ลูกสูบและลูกยางปั๊ม
 - ประกอบลูกสูบ ก้านดันพร้อมแหวนล็อค
 - ประกอบถ้วยน้ำมัน ยางรองอันใหม่ และใช้ค้อนและเหล็กส่งตอกสลักล็อคเข้า
                           การถอดและประกอบปั๊มคลัตช์ตัวล่าง

วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

การสังเกตุการทำงานของรถยก

การสังเกตุการทำงานของรถยกในระหว่างใช้งานรถยก จะต้องคอยสังเกตุการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆของรถยกด้วยว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ เช่น
-การทำงานของเบรค เช่น เมื่อใช้เบรคจะมีเสียงดัง หรือเบรคไม่อยู่
-การทำงานของเครื่องยนต์ เช่น เร่งเครื่องแล้วสะดุด หรือมีเสียงผิดปกติ
-สังเกตุมาตรวัดอุณหภูมิของเครื่องยนต์อยู่เสมอ ถ้าพบสิ่งผิดปกติต้องรีบดำเนินการแก้ไข
-สังเกตุการทำงานของระบบไฮดรอลิค เช่น เวลายกวัสดุจะต้องเร่งเครื่องยนต์มากขึ้น หรือเวลาเลี้ยวใช้แรงมากขึ้น

การบำรุงรักษาแบตเตอรี่และข้อควรระวังในการชาร์จแบตเตอรี่

การบำรุงรักษาแบตเตอรี่และข้อควรระวังในการชาร์จแบตเตอรี่
-อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งในการชาร์จ ดังนั้น ควรจะชาร์จแบตเตอรี่ก็ต่อเมื่อได้ใช้กระแสไฟฟ้า ใกล้จะหมด และในการชาร์จแต่ละครั้งต้องชาร์จต่อเนื่องเป็นเวลา 8 ชั่วโมงติดต่อกัน
-บริเวณที่ใช้เป็นที่ชาร์จแบตเตอรี่จะต้องเป็นสถานที่ที่อากาศสามารถถ่ายเทได้ดีเนื่องจากในขณะชาร์จ น้ำกลั่นจะระเหยออก
-ก่อนทำการชาร์จแบตเตอรี่จะต้องเปิดฝาจุกเติมน้ำกลั่น เพื่อตรวจเช็คระดับน้ำกลั่นให้อยู่ในระดับพอดี และตรวจสอบสภาพปลั๊กไฟว่าอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ไม่ชำรุด หรือแตกร้าว หรือไม่ถ้าชำรุดจะต้องดำเนินการแก้ไขก่อนทำการชาร์จ
-จะต้องเสียบปลั๊กของแบตเตอรี่กับตู้ชาร์จให้แน่น เพื่อไม่ให้เกิดการอาร์ดของกระแสไฟ
-จะต้องตรวจสอบขั้ว สะพานไฟ สายไฟ ของแบตเตอรี่ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์
-ถ้าขั้วแบตเตอรี่และผิวของแบตเตอรี่ด้านบนสกปรก หรือมีขี้เกลือเกาะให้ทำความสะอาดด้วยน้ำร้อน และเช็ดให้แห้ง
-ควรให้ช่างผู้ชำนาญงานตรวจเช็คค่าถ่วงนำเพาะ และแรงดันของเซลล์แบตเตอรี่แต่ละเซลล์ว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2555

การดูแลรถฟอร์คลิฟท์

การดูแลรถฟอร์คลิฟท์ ต้องมีโปรแกรมตรวจเชครถฟอร์คลิฟท์รวมถึงการซ่อมบำรุงเชิงป้องกันการตรวจสอบ และการทำความสะอาดตามที่ผู้ผลิตกำหนด่วนอุปกรณืที่เพิ่มเติม เช่น อุปกรณืควบคุมและอุปกรณ์เตือนต้องได้รับการบำรุงรักษาและบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถยกที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง จะทำให้เกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ถ้าซ่อมบำรุงไม่ดีพอ
1.การรักษาบันทึก ต้องเก็บบันทึกรายงานการซ่อมบำรุงรถยก ตลอดอายุการใช้งานหรือจนกระทั่งขายให้บุคคลอื่น
2.ฟอร์คลิฟท์ที่ไม่ปลอดภัย ต้องมีระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับรถยกที่ไม่อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย เพื่อให้คนงานสามารถปฏิบัติตามโดยให้แยกรถออกมาและรายงานให้หัวหน้างานทราบเพราะเกิดความเสี่ยงในการใช้งานได้ ต้องมีทีมงานที่รับผิดชอบในการตรวจประเมิณความเสียหายของรถยก ชี้เหตุที่ทำให้เสียหาย และการซ่อมบำรุงที่ทำให้ลดความเสี่ยง


วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555

ข้อควรปฏิบัติสำหรับพนักงานขับรถโฟร์คลิฟท์

1.พื้นฐานความปลอดภัย สิ่งที่ควรคำนึงถึง
-ห้ามใช้รถยกมากกว่าที่ได้ออกแบบไว้ พื้นที่ปฏิบัติงานที่เป็นอันตรายรวมถึงการกระแทกพาเลท การดันวัสดุจากทางเดิน การยกสินค้าที่หนักโดยติดตั้งอุปกรณ์อื่นบนรถยก
-ควรรัดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง
-ปฏิบัติตามป้ายแสดงจำกัดความเร็ว เพื่อให้สามารถหยุดรถยกได้ทัน ซึ่งความเร็วในการขับจะขึ้นกับผิวอาคาร และสถาพจราจร
-สวมแว่นเพื่อความปลอดภัย เพื่อป้องกันอันตรายจากฝุ่น วัสดุอันตราย เมื่อขับรถยกเพื่อเก็บสินค้าในระดับเหนือศรีษะ
2.พื้นฐานการปฏิบัติการ
-ระมัดระวังเพิ่มเติมและห้ามเลี้ยวเมื่อมีทางลาดเอียง โค้ง และพื้นที่ที่ยังไม่มีข้อตกลง
-ขับให้ช้าลง และบีบแตรก่อนถึงประตู ทางข้าม ทางร่วม และมุมอับ
-เดินทางโดยระยะห่างจากคันอื่นอยู่ในระยะที่ปลอดภัย
-เมื่อย้ายสินค้า พาเลทต้องอยู่ในระยะต่ำกว่าระดับเพลารถยนต์ หรือประมาณ 20 เซ็นติเมตรจากพื้น
-พึงระวังจุดที่มองไม่เห็นจากเสา หรือส่วนประกอบอื่นของรถยก ที่บดบังพื้นที่ในสถานที่ปฏิบัติงาน
-อย่ายื่นอวัยวะออกนอกตัวรถยกในขณะใช้งาน
3.พื้นฐานจากคน
-อย่าใช้รถยกขนผู้โดยสาร นอกจากจะเพิ่มที่นั่งและเข็มขัดนิรภัย
-อย่าให้คนยืนบนพาเลท หรือแท่นบนพาเลท
-ไม่อนุญาตให้คนยืน ทำงาน หรือเดินใต้พาเลทที่กำลังทำงานอยู่
-ระวังคนที่ทำงานรอบตัวรถ ในขณะถอยหรือยกสินค้า และห้ามคนเดินข้างรถขณะกำลังใช้รถยก
4.สภาพแวดล้อมในการทำงาน
-ห้ามขับบนพื้นที่มีของเหลวและผงวัสดุบนพื้น เนื่องจากจะทำให้แรงเสียดทานของล้อลดลง ทำให้เกิดปัญหาในการจราจร ให้นำสิ่งกีดขวางและสิ่งที่เป็นอันตรายออกห่างจากพื้นที่ปฏิบัติงาน ถ้าเกิดอุบัติเหตุให้แจ้งผู้บังคับบัญชาอย่างเร่งด่วน
-การขับรถยกจากพื้นผิวเปียก เข้าสู่พื้นผิวแห้ง ส่งผลกระทบต่อการหยุดรถ ทั้งเบรกและการทรงตัว
-ให้เวลาที่เพียงพอต่อการมองเห็นเมื่อย้ายจากพื้นที่มืดไปยังพื้นที่ที่มีสว่าง
5.ราวป้องกันตก และการควบคุมความปลอดภัย
-รถสำหรับหยิบสินค้าต้องมีราวป้องกันการตกขณะหยิบสินค้า
-ถ้ามีการยื่นอวัยวะบางส่วนออกนอกรถ ต้องจัดเตรียมระบบป้องกันอุบัติเหตุ ที่เหมาะสมและถูกต้องตามขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัย ให้เหมาะสมกับการปฏิบัตืงานในแต่ล่ะสถานที่
-ใช้รถฟอร์ลิฟท์ให้ให้เป็นไปตมลักษณะงานการใช้งานที่ระบุในใบอนุญาต
6.กรณีมีเรื่องราวเกิดขึ้น
-มั่นใจว่าทุกคนที่ขับรถยก ใช้งานตามระเบียบปฏิบัติในกรณีที่มีเรื่องราวเกิดขึ้น เช่นรถพัง
-กรณีรถคว่ำ อย่ากระโดดลงจากรถทันที ให้ตั้งสติ ลดคันเร่ง ปลดเข็มขัดและอยู่ด้านบนของรถฟอร์คลิฟท์
-ถ้ารถฟอร์คลิฟท์ขับไปชนสายไฟ ให้อยู่บนรถก่อน โดยอยู่อีกด้านหนึ่งให้ห่างจากสายไฟจนกว่าจะปิดไฟ แล้วจึงออกจากรถ และย้ายรถออกจากสายไฟ
7.การเสร็จสิ้นงาน
-เมื่อจะออกจากฟอร์คลิฟท์ ให้ลดระดับพาเลทลงที่พื้น ต้องดึงเบรกเพื่อจอด และจอดในแนวที่ตั้งตรง
-ถ้าฟอร์คลิฟท์ใช้ LPG ให้ปิดวาล์วแก๊ซ อย่าจอดรถใกล้จุดที่มีประกายไฟ ใกล้ประตูและใกล้หลุม
-จอดรถยกในที่เตรียมไว้ ที่มีสิ่งปกปิด และจอดห่างจากสายไฟหลักไม่น้อยกว่า 3 เมตร
-ปลดกุญแจออก เมื่อสถานที่ทำงานปิดแล้ว เพื่อไม่ให้บุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาติใช้รถยก

วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2555

วิธีการยกขนสินค้าอย่างปลอดภัย

วิธีการยกขนสินค้าอย่างปลอดภัย
1.กำลังความสามารถของฟอร์คลิฟท์ ให้ยกวัสดุในอัตราน้ำหนักปลอดภัยสูงสุด โดยให้สินค้าอยู่ในตำแหน่งศูนย์กลางในการยก การยกน้ำหนักเกินส่งผลให้รถยกพังเร็วขึ้นและอาจทำให้เกิดอันตรายได้
2.สินค้าที่บรรทุก(Load) น้ำหนัก ขนาด รูปร่าง มีผลต่อวิธีการยกสินค้าเมื่อยกสินค้ารถจะทรงตัวได้น้อยกว่า การยกสินค้าขณะเคลื่อนที่ไม่ควรยกในระดับสูง ควรยกในระดับ 20 เซนติเมตรจากพื้น ควรศึกษาพื้นที่ที่ปฏิบัติงาน สิ่งกีดขวาง มุมเลี้ยว และสินค้าที่จะยกก่อนปฏิบัติงาน
3.การตรวจเชคสินค้าก่อนปฏิบัติงาน ควรปฏิบัติดังนี้
-ทราบวิธีการอ่านแผ่นข้อมูลความสามารถในการยก
-ทราบความสามารถของรถยก อย่ายกเกินที่กำหนด ต้องทราบน้ำหนักของสินค้าที่จะยก
-ถ้าสินค้าวางในตำแหน่งที่ไม่ปลอดภัยและถูกต้องให้ทำการยกสินค้าใหม่
-ถ้าพาเลทพัง ให้นำออกจากการใช้งาน
-ถ้าสินค้ามีความกว้าง หรือยาว อาจมองหาทางเดินรถทางอื่น
-ถ้าวัสดุที่ยกมีความยาวต่างกัน พยายามวางให้อยู่กลางพาเลทขณะที่ทำการยก
-จัดตำแหน่งพาเลทเพื่อให้รองรับน้ำหนักสินค้าให้ดีที่สุด และมีความสมดุล
-ตรวจเชคสินค้าก่อนยก เพื่อสร้างความมั่นใจว่าไม่กระทบต่อคน และสิ่งต่างๆ
4.การขนสินค้า
-มั่นใจว่าสินค้าที่ขนแต่ละพาเลท ได้ลดระดับให้ต่ำลงตามที่ผู้ผลิตรถกำหนดและปฏิบัติตามวิธีปฏิบัติงานที่ปลอดภัย อย่าขับรถโดยยกระดับพาเลทสูงขึ้น ให้ลดระดับต่ำลงก่อนเคลื่อนย้ายและเลี้ยวรถ
-อย่าบรรทุกสินค้าให้โน้มเอียง เพราะอาจจะล้มได้ เมื่อขับรถยกซึ่งสินค้าเอนเอียงให้เอียงกลับด้านหลัง ยกระดับเท่าที่จำเป็นในการวิ่งเท่านั้นและอย่าเลี้ยวรถในขณะที่สินค้าเอียง
-อย่าผูกเชือกกับเสารถยกเพื่อดึงหรือลากสินค้า ถ้าจำเป็นต้องผูกต้องทำตามวิธีการผูกที่ได้ระบุการรับรองว่าปลอดภัย
-อย่าผูกลวดสลิงกับพาเลท แล้วยกด้วยงา เพราะสินค้าอาจจะหลุดจากพาเลทได้ ถ้าจะใช้ควรใช้กับแขนของปั้นจั่น(Jib)
5.การขับขี่ไปยังรถบรรทุก
-มั่นใจว่าแท่นที่ต่อท้ายรถบรรทุก หรือสะพานพาดได้ล็อคแล้วมีความแข็งแรงและสามารถรองรับน้ำหนักของสินค้าและรถยกได้
-ล้อรถบรรทุกได้ยึดและใช้เบรคมือสำหรับจอดเรียบร้อยแล้ว
-มีระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการเคลื่อนรถบรรทุกสินค้าออกจากท่า ว่าสินค้าต้องวางเต็มแล้ว
-การจอดรถกึ่งพ่วง ในขณะขึ้นสินค้าควรมีขาตั้งวางบนพื้น และระวังพื้นที่ตั้งขาด้วยว่าสามารถรับน้ำหนักจากขาหรือไม่
6.การใช้ทางลาดเอียง
-ทางลาดเอียงต้องแข็งแรงเพียงพอที่จะรับน้ำหนักของสินค้าและรถยก ต้องรักษาทางลาดให้อยู่ในสภาพดี สามารถใช้ได้ดีถึงแม้สภาพอากาศเปียกชื้น สามารถย้ายสินค้าได้อย่างราบรื่นทั้งขึ้นและลงนอกจากนั้นต้องมีมุมลาดเอียงที่ปลอดภัย
-มีราวกันตกด้านข้างเพื่อป้องกันล้อวิ่งออกนอกทาง และถ้าต้องการใช้สะพานพาดที่ลาดเอียงเพื่อทำงานต้องจัดเตรียมระบบล็อค และอุปกรณืเชื่อมต่อกับตัวอาคาร
7.การมองเห็นอย่างชัดเจน ถ้าสินค้าที่บรรทุกบดบังทางเดินรถในขณะรถวิ่งให้คนงานอื่นบอกทาง และมั่นใจว่าทุกการขนสินค้ามองเห็นทางรถวิ่งตลอดเวลา ถ้ามองไม่เห็นให้หยุดรถทันทีหรือต้องขับถอยหลังถ้าไม่สามารถมองเห็นจากด้านหน้า

วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2555

ข้อควรระวังในการใช้รถยก

ข้อควรระวังสำหรับพนักงานขับรถยก
1.ความเร็ว การขับรถฟอร์คลิฟท์ ไม่ใช่รถแข่ง กรณีขับรถเร็วถ้าเกิดอุบัติเหตุมีโอกาสกระเด็นจากรถ ฉะนั้นต้องออกรถและหยุดด้วยความนุ่มนวล
2.การเลี้ยวอย่างรวดเร็ว กรณีที่บรรทุกสินค้าที่มีความสูง จะมีความเสถียรน้อยฉะนั้นขณะเลี้ยวรถฟอร์คลิฟท์ที่บรรทุกสินค้าที่มีน้ำหนักมากต้องระมัดระวัง
3.กฏ 8 นิ้ว เมื่อขนส่งสินค้า ต้องไม่ยกสินค้าให้สูงจากระดับพื้นเกิน 8 นิ้ว
4.ปิดบังการมองเห็น ถ้าการยกสินค้าขนาดใหญ่บัง ไม่สามารถมองเห็นต้องเดินทางโดยการขับรถยกถอยหลัง
5.รถขับเคลื่อนล้อหลัง ทำให้สามารถควบคุมรถยกได้ดีกว่าเมื่อยกงาขึ้น การขับเคลื่อนล้อหลังจะสามารถตีวงกว้างกว่ารถขับเคลื่อนล้อหน้า
6.จุดที่ควรระวัง ขณะปฏิบัติงานและขับ ควรรักษาระยะในการวางอวัยวะในตำแหน่งที่ส่งผลให้เกิดอันตราย เช่น ใกล้ล้อ โซ่ดึงน้ำหนัก กระบอกไฮดรอลิก ไม่ควรยื่นอวัยวะออกนอกตัวรถยก หรือจับส่วนที่ป้องกันศรีษะควรวางอวัยวะทุกส่วนภายในรถยก

วันศุกร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2555

การเติมน้ำมันเชื้อเพลิงและการชาร์จแบตเตอร์รี่รถฟอร์คลิฟท์

การเติมน้ำมันเชื้อเพิลงขณะเติมระงับการจุดไฟ ผู้ขับควรเติมน้ำมันและชาร์จแบตเตอร์รี่ด้วยความระมัดระวังเพื่อให้เกิดความปลอดภัย โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้
-จอดรถฟอร์คลิฟท์ ในพื้นที่เติมน้ำมันเชื้อเพลิง และชาร์จแบตเตอร์รี่
-ไม่ควรปิดทางเข้าออกประตูไปยังสถานที่มีแบตเตอร์รี่ หรือจุดที่อาจเกิดเหตุฉุกเฉิน
-มั่นใจว่าพื้นที่ชาร์จแบตเตอร์รี่มีระบบระบายอากาศที่ดี
-เช็คถังดับเพลิงว่าอยูใกล้พื้นที่หรือไม่
การเติมน้ำมันดีเซลและแก๊ซโซลีน
-ดับเครื่องยนต์และระบบไฟที่อาจไหม้รถฟอร์คลิฟท์
-ไม่จุดบุหรี่หรือไฟใกล้รถฟอร์คลิฟท์
-มั่นใจว่าหัวจ่ายน้ำมัน ตรงกับกรวยรับ ก่อนจ่ายน้ำมันหรือก๊าซ
-อย่าทำน้ำมันหก ถ้ามีให้รีบเช็ดทำความสะอาด
-กรณีใช้ถังน้ำมันต้องมั่นใจว่าถังที่ใช้มีความสะอาดและได้มาตรฐาน
การเติมแก๊ซโปรเพนเหลว
-ก่อนเปลี่ยนถังแก๊ซ ให้ดับเครื่อง ปิดวาล์ว
-ดับเครื่อง ระบบไฟส่องสว่างที่อาจไหม้รถฟอร์คลิฟท์
-ตรวจสอบรอยต่อ รอยรั่วระหว่างถังกับเครื่องยนต์
-ก๊าซ LPG หนักกว่าอากาศ ต้องระบายอากาศออกก่อนเปลี่ยนถังหรือเติมก๊าซ
-ห้ามสูบบุหรี่ มั่นใจว่าไม่จุดใกล้รถฟอร์คลิฟท์
แบตเตอร์รี่รถฟอรคลิฟท์ ที่นิยมใช้มี 3 รูปแบบคือ
-แบบกรด+ตะกั่วมาตรฐาน
-แบบกรด+ตะกั่วที่ขยายเวลาการซ่อมบำรุง
-แบบใช้แล้วทิ้ง เช่นแบบเจลไม่ต้องชาร์จการใช้งาน