วันอาทิตย์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2557

หม้อต้มแก๊สรถโฟล์คลิฟท์






หลักการทำงานของหม้อต้มแก๊ส


หม้อต้มแก๊สหรือ Reducer ทำหน้าที่เปลี่ยนสถานะของแก๊สซึ่งปกติแล้วเวลามันอยู่
ในถังแก๊สจะเป็นของเหลว (เหมือนที่เห็นในไฟแช็คอ่ะ เป็นอย่างนั้น)ให้กลายเป็นไอ
(แก๊สจะกลายเป็นไอได้ต้องลดแรงดันลง) โดยแก๊สจากถังจะต้องผ่านหม้อต้มแก๊ส
เพื่อเปลี่ยนสถานะให้เป็นไอและส่งต่อเข้าไปยังเครื่องยนต์ ที่นี้การเปลี่ยนสถานะของ
แก๊สให้กลายเป็นไอก็ต้องใช้พลังงานมาช่วยก็คือพลังงานความร้อนจากระบบระบาย
ความร้อนของรถยนต์คือน้ำจากหม้อน้ำนั่นเองจะช่วยให้แก๊สเปลียนสถานะได้เร็วขึ้น

หม้อต้มแก๊ส LPG ก็จะมีอยู่ 2 ระบบ
1. หม้อต้มแก๊สระบบดูด หม้อต้มระบบนี้จะไม่มีแรงดันให้แก๊สออกครับ จะต้องอาศัยแรง
ดูดจากเครื่องยนต์เท่านั้นถึงจะมีแก๊สออกไป
2. หม้อต้มแก๊สระบบแก๊สหัวฉีด หม้อต้มแบบนี้จะมีแรงดันประมาณสัก 2 บาร์ได้
เพื่อส่งแก๊สไปที่หัวฉีดและจ่ายแก๊สออกไปเมื่อหัวฉีดเปิดครับ
 มาว่ากันถึงเสป็ค หม้อต้มแก๊ส 
ปกติแล้วหม้อต้มแก๊ส จะมีเสป็คบอกไว้ว่ารองรับเครื่องได้กี่แรงม้าไม่ใช่ว่าใส่แล้ว
จะมีแรงม้าตามที่ระบุเหมือนที่หลายคนเข้าใจ ซึ่งนั่นหมายถึงเข้าใจผิดครับ เช่น
เครื่องยนต์มีแรงม้า 100 แรงม้า ถ้าติดหม้อต้ม 200 แรงม้า เครื่องก็มี 100 แรงม้าเท่า
เดิม (ก็ม้าที่มีมาจากโรงงานมันแค่ 100 ตัวนี่)
แต่ถ้าหากเครื่องยนต์ 100 แรงม้า ติดหม้อต้มที่มีกำลังจ่ายแค่ 80 แรงม้า อย่างนี้มี
ปัญหาครับเวลาใช้แก๊สจะเร่งไม่ค่อยออกครับเพราะแก๊สไม่พอเลี้ยงม้า 100 ตัวของ
เครื่องยนต์ครับ อย่างน้อยเครื่องยนต์มี 100 แรงม้า หม้อต้มแก๊สก็ควรจะรองรับ
ได้สัก 100 แรงม้าหรือให้ดีเผื่อสักนิดเป็น 120 แรงม้าไรทำนองนี้ก็ได้ครับ จะได้ไม่มี
ปัญหาแก๊สจ่ายไม่พอเวลาเร่งรอบสูงๆหรือต้องการกำลังฉุดลากมากๆ ครับ

ปกติทั่วไปมันไม่เป็นไรก็ไม่มีใครจะไปรื้อมันหรอกครับ
งั้นหาเหตุที่จะรื้อดีกว่า
1. กินแก๊สมากผิดปรกติ
2. จูนไม่จบสักทีเปลี่ยนหัวฉีดแล้วด้วย
3. สตาร์ทยากเปลี่ยนหรือเช็คหัวฉีดแล้วด้วยเหมือนกัน
4. เร่งไม่ขึ้น อืดผิดปรกติ
5. น้ำในหม้อน้ำหายหรือมีคราบน้ำที่หม้อต้ม
เมื่อนับได้ 5 ข้อแล้ว ก็มารื้อเปลี่ยนชุดซ่อมกันดีกว่าครับ 555
จะอธิบายจุดต่างๆไปด้วยครับ แบบง่ายๆก็แล้วกัน

วันอังคารที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557

โลจิสติกส์กับความสามารถในการเเข่งขันของลาว

ประเทศลาวหรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือเรียกว่า  สปป.ลาว
เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งตั้งอยู่บนใจกลางของคาบสมุทรอินโดจีน มีพื้นที่โดยรวมประมาณ 236,800 ตารางกิโลเมตร (อันดับ 83 ของโลก)หรือประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย เเบ่งเป็นภาคพื้นดิน 230,800 ตารางกิโลดมตรมีเมืองหลวงคือ เวียงจันทน์
             ลาว เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลเนื่องด้วยตลอดเเนวชายเเดนของประเทศลาว ซึ่งมีความยาวรวม 5,083 กิโลเมตร ล้อมรอบด้วยชายเเดนของประเทศเพื่อนบ้าน 5 ประเทศ ดังนี้
             *ทิศเหนือ ติดกับประเทศจีน (1 กิโลเมตร)
             *ทิศใต้ ติดกับประเทศกัมพูชา (541 กิโลเมตร)
             *ทิศตะวันออก ติดกับประเทศเวียดนาม (2,130 กิโลเมตร)
             *ทิศตะวันตก ติดกับประเทสไทย (1,754 กิโลเมตร)
             *ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดกับประเทศพม่า (235 กิโลเมตร)
ความยาวพื่นที่ประเทศลาวตั้งเเต่เหนือจรดใต้ยาวประมาณ 1,700 กว่ากิโลเมตร ส่วนกว้างที่สุดกว้าง 500 กิโลเมตร เเละที่เเคบที่สุด 140 กิโลเมตร เนื้อที่ทั้งหมด 236,800 ตารางกิโลเมตร (91,429 ตารางไมล์) พื้นที่ส่วนใหญ่เป็น๓ุเขาเเละที่ราบสูง (ประมาณ 4 ใน 5 ของพื้นที่ทั้งหมด) ส่วนที่เป็นพื้นที่ราบประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นที่ทั้งหมด ประเทศลาวมีพื้นที่เพาะปลูกสำหรับการเกษตรเพียง 50,000 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 21.11 ของพื้นที่ทั้งหมด
                ประสิทธิภาพโลจิสตกส์ของประเทศลาว
                 การวัดประสิทธิภาพของระบบโลจิสติกส์ในประเทศลาวจะต้องใช้ดัชนีวัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ ธนาคารโลกได้ทำการสำรวจประสิทธิภาพของระบบโลจิสติกส์ของเเต่ละประเทศ เเล้วนำมาพัฒนาเป็นดัชนีวัดประสนทธิภาพด้านโลจิสติกส์ (Logistics Performance lndex: LPI) ครั้งเเรกในปี 2007 เเละอีกครั้งในปี 2010 จากการประเมินประสิทธิภาพของบริษัทที่ทำการขนส่งสินค้าเเละบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการทำพิธีการนำเข้าเเละส่งออกที่ครอบคลุมประเทศต่างๆจำนวน 150 ประเทศ ตามเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมโลจิสติกส์ สำหรับดัชนีประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ได้ทำการสำรวจตามเกณฑ์ที่สำคัญ 6 เกณฑ์ ดังนี้
                    1.ประสิทธิภาพในการดำเนินงานพิธีการต่างๆ ของศุลกากร (Efficiency of the clearance process)     
                    2.คุณภาพในด้านการขนส่งเเละโครงสร้างพื้นฐาน (Quality of trade and transport infrastrure)
                    3.ความง่ายในการขนส่งระหว่างประเทศ (Ease of arranging competitively priced shipments)
                    4.ปัจจัยด้านความสามารถของอุตสาหกรรมโลจิสตกส์ภายในประเทศ (Logistics competence and quality of logistics services)
                    5.ความสามารถในการสืบค้นสินค้าระหว่างมีการขนส่งทางเรือ (Tracking and tracing)
                    6.การส่งสินค้าถึงที่หมายตรงเวลา (Timeliness)
                     ดัชนีวัดปะสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์นี้ได้เเบ่งเป็นคะเเนนจาก 1-5 โดยที่คะเเนน 1 หมายถึงความไม่มีประสิทธิภาพด้านดลจิสติกส์ในขณะที่ คะเเนนเต็ม 5 จะหมายถึงว่ามีประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์เป็นอย่างดี นอกจากนี้ตัวเลขของดัชนีสามารถบอกได้ว่า การที่ดัชนีวัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์มีค่าต่ำลง 1.0 (อาทิ 2.5 กับ 3.5)หมายถึง ประเทศนั้นมีระยะเวลาในการนำสินค้าจากท่ามายังคลังสินค้านานขึ้น 6 วัน เเละมีระยะเวลาในการส่งออกนานขึ้น 3 วันเเละยังสามารถบอกได้ว่ามีโอกาสถูกสุ่มตรวจสินค้าที่ท่านำ้เข้ามากขึ้น 5 เท่า
                       สำหรับประสิทธิภาพโลจิสติกส์ของประเทศลาวในปี 2010 มีคะเเนน 2.46 จาก 5 อยู่ในลำดับที่ 118 จาก 155 ประเทศที่มีการสำรวจ