วันอาทิตย์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2557

หม้อต้มแก๊สรถโฟล์คลิฟท์






หลักการทำงานของหม้อต้มแก๊ส


หม้อต้มแก๊สหรือ Reducer ทำหน้าที่เปลี่ยนสถานะของแก๊สซึ่งปกติแล้วเวลามันอยู่
ในถังแก๊สจะเป็นของเหลว (เหมือนที่เห็นในไฟแช็คอ่ะ เป็นอย่างนั้น)ให้กลายเป็นไอ
(แก๊สจะกลายเป็นไอได้ต้องลดแรงดันลง) โดยแก๊สจากถังจะต้องผ่านหม้อต้มแก๊ส
เพื่อเปลี่ยนสถานะให้เป็นไอและส่งต่อเข้าไปยังเครื่องยนต์ ที่นี้การเปลี่ยนสถานะของ
แก๊สให้กลายเป็นไอก็ต้องใช้พลังงานมาช่วยก็คือพลังงานความร้อนจากระบบระบาย
ความร้อนของรถยนต์คือน้ำจากหม้อน้ำนั่นเองจะช่วยให้แก๊สเปลียนสถานะได้เร็วขึ้น

หม้อต้มแก๊ส LPG ก็จะมีอยู่ 2 ระบบ
1. หม้อต้มแก๊สระบบดูด หม้อต้มระบบนี้จะไม่มีแรงดันให้แก๊สออกครับ จะต้องอาศัยแรง
ดูดจากเครื่องยนต์เท่านั้นถึงจะมีแก๊สออกไป
2. หม้อต้มแก๊สระบบแก๊สหัวฉีด หม้อต้มแบบนี้จะมีแรงดันประมาณสัก 2 บาร์ได้
เพื่อส่งแก๊สไปที่หัวฉีดและจ่ายแก๊สออกไปเมื่อหัวฉีดเปิดครับ
 มาว่ากันถึงเสป็ค หม้อต้มแก๊ส 
ปกติแล้วหม้อต้มแก๊ส จะมีเสป็คบอกไว้ว่ารองรับเครื่องได้กี่แรงม้าไม่ใช่ว่าใส่แล้ว
จะมีแรงม้าตามที่ระบุเหมือนที่หลายคนเข้าใจ ซึ่งนั่นหมายถึงเข้าใจผิดครับ เช่น
เครื่องยนต์มีแรงม้า 100 แรงม้า ถ้าติดหม้อต้ม 200 แรงม้า เครื่องก็มี 100 แรงม้าเท่า
เดิม (ก็ม้าที่มีมาจากโรงงานมันแค่ 100 ตัวนี่)
แต่ถ้าหากเครื่องยนต์ 100 แรงม้า ติดหม้อต้มที่มีกำลังจ่ายแค่ 80 แรงม้า อย่างนี้มี
ปัญหาครับเวลาใช้แก๊สจะเร่งไม่ค่อยออกครับเพราะแก๊สไม่พอเลี้ยงม้า 100 ตัวของ
เครื่องยนต์ครับ อย่างน้อยเครื่องยนต์มี 100 แรงม้า หม้อต้มแก๊สก็ควรจะรองรับ
ได้สัก 100 แรงม้าหรือให้ดีเผื่อสักนิดเป็น 120 แรงม้าไรทำนองนี้ก็ได้ครับ จะได้ไม่มี
ปัญหาแก๊สจ่ายไม่พอเวลาเร่งรอบสูงๆหรือต้องการกำลังฉุดลากมากๆ ครับ

ปกติทั่วไปมันไม่เป็นไรก็ไม่มีใครจะไปรื้อมันหรอกครับ
งั้นหาเหตุที่จะรื้อดีกว่า
1. กินแก๊สมากผิดปรกติ
2. จูนไม่จบสักทีเปลี่ยนหัวฉีดแล้วด้วย
3. สตาร์ทยากเปลี่ยนหรือเช็คหัวฉีดแล้วด้วยเหมือนกัน
4. เร่งไม่ขึ้น อืดผิดปรกติ
5. น้ำในหม้อน้ำหายหรือมีคราบน้ำที่หม้อต้ม
เมื่อนับได้ 5 ข้อแล้ว ก็มารื้อเปลี่ยนชุดซ่อมกันดีกว่าครับ 555
จะอธิบายจุดต่างๆไปด้วยครับ แบบง่ายๆก็แล้วกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น