วันจันทร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2557

ซ่อมกระปุกคอพวงมาลัย FORKLIFT KOMATSU รุ่น 8

แปลงระบบควบคุมการยก FORKLIFT MITSUBISHI

FORKLIFT TOYOTA 5FD25

FORKLIFT BT สายไฮดรอลิคแตก

ซ่อม forklift mitsubishi

ซ่อม forklift mitsubishi

ตรวจเช็ครถกระเช้าน้ำมัน 03

ตรวจเช็ครถกระเช้า ISUZU เครื่อง 4BD1

ซ่อมรถโฟล์คลิฟท์ยืนขับ toyota 5fbr15

ซ่อมรถกอล์ฟยี่ห้อ YAMAHA 02

ซ่อมรถกอล์ฟน้ำมัน ยี่ห้อ HITACHI 03

ซ่อมรถกอล์ฟ น้ำมันยี่ห้อ YAMAHA ปี 1985 (+เพลย์ลิสต์)

วันอังคารที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2557

เฟือง (GEARS)


                                                                     
เฟือง (GEARS)
          เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งภายในระบบส่งกำลังเครื่องจักร เช่น เครื่องกลึง กระปุกพวงมาลัย กระปุกเกียร์ หรือชุดเฟืองท้าย ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ส่งถ่ายกำลังโดยการหมุนผ่านเฟืองตัวอื่นๆ เฟืองจะเเตกต่างจากพูลเล่ย์ (Pulley) คือเฟืองจะมีฟันเฟืองอยู่รอบๆ เเละจะมีขนาดของฟันเฟืองเท่าฟันของเฟืองตัวอื่น 
ที่ขบกันอยู่ เฟืองจะมีการส่งกำลังหรือเเรงขับอย่างสมบูรณ์โดยไม่มีการลื่นไถล ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับโครงสร้าง
เเละการจัดวางเฟือง เฟืองสามารถส่งถ่ายกำลังที่ความเร็วเเละเเรงบิดที่เเตกต่างกันได้ หรือมีการได้เปรียบเชิงกล หรือในทิศทางที่เเตกต่างจากต้นกำลังได้ โดยปกติจะใช้ลดความเร็วเเต่เพิ่มเเรงบิด 
   
่1.1 ชนิดของเฟือง (Type of Gears)
      เฟืองเเบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้เเก่ เฟืองฟันนอกเเละเฟืองฟันใน โดยเฟืองฟันนอกจะมีฟันเฟืองอยู่บนผิวด้านนอกของทรงกระบอกกลมหรือกรวยกลม ในทางกลับกัน เฟืองฟันในจะมีฟันเฟืองอยู่ด้านในของผิวทรงกระบอกกลมหรือกรวยกลมดังเเสดงในรูป
                                                                                               
                                                                    

1.1.1 เฟืองฟันตรง (Spur Gears)
         เฟืองฟันตรง เป็นเฟืองที่มีฟันเฟืองตัดตรงขนานกับเเนวเเกน สร้างง่ายเเละเเข็งเเรง ใช้ส่งกำลัง
ระหว่างเพลา 2 เพลาที่ขนานกัน เฟืองฟันตรงมีประสิทธิภาพสูง เเละมีความเเม่นยำสูง ดังนั้นเฟืองฟันตรงจึงถูกใช้งานงานด้วยความเร็วสูงเเละภาระสูง ในการส่งกำลังงานฟันเฟืองจะขบกันได้เพียงหนึ่งฟันเฟือง จึงอาจจะทำให้ฟันเฟืองเเตกหักได้ถ้ามีการส่งกำลังมากเกินไป ข้อเสียของฟันเฟืองเเบบนี้คือ จะมีเสียงดังขณะส่งกำลังงาน ตัวอย่างของเฟืองฟันตรง

 1.1.2เฟืองฟันเฉียง (Helical Gears)
         เฟืองฟันเฉียงใช้ส่งกำลังกับเพลาที่วางขนานกัน จะมีฟันเฟืองตัดขวางกับเเกนหรือการหมุนฟันเฟืองจะมีความยาวกว่าเฟืองฟันตรงเเละรับภาระได้สูงมาก อัตราการสัมผัสของฟันเฟืองจะสูงกว่าสฟันเฟืองตรง ขณะส่งกำลังงานฟันเฟืองจะขบกันได้มากกว่า 2 ฟันเฟืองขึ้นไป มีความราบเรียบเเละไม่มีเสียงดังขณะส่งกำลังงาน เฟืองฟันเฉียงจะใช้ในกระปุกเกียร์รถยนต์ เเละชุดทดกำลังในอุตสาหกรรม 
1.1.3 เฟืองฟันเฉียงคู่ (Herringbone or Double Helical Gears)
         เฟืองฟันเฉียงคู่ หรือเรียกกันว่า เฟืองก้างปลา เฟืองชนิดนี้จะมีฟันเฟืองเฉียงเป็นรูปตัววี ใช้ส่งกำลังงานระหว่างเพลา 2 เพลาที่ว่างขนานกัน เฟืองชนิดนี้ไม่สามารถเลื่อนหลุดออกจากกันได้ขณะขบส่งกำลังเเละผลิตยาก ทำให้มีราคาสูงมาก ใช้ในเตาหลอมซีเมนต์เเละเบ้าหลอมโลหะ
1.1.4 เฟืองเพลนนิทารี (Planetary Gears)
         ชุดเฟืองเพลนทิทารีจะประกอบด้วย เฟืองวงเเหวนเเบบฟันเฟืองใน (Sun Gear) เฟืองตัวเล็ก 3 หรือ 4 ตัว เเละเฟืองตัวกลางโดยเฟืองตัวเล็กจะสวมอยู่ในสลักของตัวเรือน โดยจะหมุนรอบสลักเเละหมุนไปพร้อมกับเรือนของมัน ใช้เป็นชุดเฟืองทดในเกียร์อัตโนมัติ มอเตอร์สตาร์ต เเละชุดเฟืองทดในโรงงานอุตสาหกรรม 
                                                                                                    

วันจันทร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2557

ยึดโยงอาเซียน-จีน-อินเดียอย่ามองข้ามลาว จากLand lock to Land link

กลุ่ม ประเทศอาเซียนจะรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียน หรือAEC ในปี 2558 โดยนอกเหนือจากการรวมกลุ่มของ 10 ประเทศแล้ว ยังมีการมองถึงการเชื่อมโยงเข้าหาประเทศมหาอำนาจใหม่ในเอเชีย อันได้แก่ จีนและอินเดีย ภายใต้โครงการความร่วมมือต่างๆ มากมาย ลาว จึงกลายเป็นประเทศที่มีความสำคัญสำหรับไทยและอาเซียน
วิทวัส ศรีวิหค เอกอัครราชทูตไทยประจำสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว บรรยายพิเศษให้คณะนักศึกษาหลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สำหรับนักบริหารระดับสูงรุ่นที่ 16 หรือ ปปร. 16 ที่เดินทางไปดูงานยังจ.อุดรธานี หนองคาย และนครเวียงจันทน์ ประเทศลาว ว่า เดิมลาวเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล หรือแลนด์ล็อก (Land Locked) ทว่าจากแผนการเชื่อมโยงประเทศต่างๆ ในอาเซียนและการขยายความร่วมมือออกไปอีก ทำให้ลาวเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ ลาวแปรสภาพจากประเทศแลนด์ล็อกเป็นแลนด์ลิงค์ (Land Linked) เชื่อมอินเดียและจีนเข้ามายังอาเซียน
เริ่มจาก การจัดตั้งกลุ่มประเทศระเบียงเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง(Greater Mekong Subregion Corridors ) ของ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีนเพื่อส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางการค้า การลงทุนอุตสาหกรรม การเกษตรบริการ และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งมีแนวทางสำคัญ อาทิการสร้างเส้นทางคมนาคมยึดโยงเข้าหากัน โดยมีเส้นทางยุทธศาสตร์สำคัญๆ 3 เส้นทาง และลาวจะกลายเป็นจุดเชื่อมโยงหลักคือ
1. เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor : EWEC) หรือเส้นทางหมายเลข 9 (R9) เส้นทางดังกล่าวระยะทาง 1,450 กม. เริ่มจากเมืองท่าดานังผ่านเมืองเว้ เมืองลาวบาว อันเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษของเวียดนาม ผ่านเข้าแขวงสะหวันนะเขตในลาว มาข้ามสะพานมิตรภาพ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) เข้าไทยที่ จ.มุกดาหาร ผ่านกาฬสินธุ์ขอนแก่น เพชรบูรณ์ พิษณุโลก จนไปสุดที่ อ.แม่สอดตาก เข้าไปยังประเทศพม่าจนทะลุอ่าวเมาะตะมะที่เมืองเมาะลาไย หรือมะละแหม่ง ซึ่งสามารถเชื่อมต่อไปยังอินเดียและตะวันออกกลาง
2. เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวเหนือ-ใต้(North-South Economic Corridor : NSEC) หรือเส้นทาง R3E หรือ R3A เป็นเส้นทางเชื่อมโยงทางบกระหว่างนครคุนหมิงกับกรุงเทพฯ ระยะทางประมาณ 1,800 กิโลเมตร โดยผ่าน 3 ประเทศ คือ จีนตอนใต้ ลาว และไทย
3. เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ (Southern Economic Corridor) เชื่อมโยงไทย-กัมพูชาเวียดนาม มีเส้นทางย่อย ประกอบด้วย เส้นทางสายกลาง จากกรุงเทพฯ ผ่านพนมเปญไปยังโฮจิมินห์ ซิตีและสุดที่เมืองหวุงเต่ำ หรือวังเทา ริมชายทะเลเวียดนาม เส้นทางสายเหนือ เริ่มจากกรุงเทพฯ ไปยังอรัญประเทศ เมื่อเข้าเขตกัมพูชาแล้วจะแยกขึ้นเหนือผ่านเสียมราฐและไปสุดที่เมือง Quy Nhon ทางตอนกลางของเวียดนาม เส้นทางเลียบชายฝั่งด้านใต้เริ่มจากกรุงเทพฯ ผ่านทางภาคตะวันออกของไทยเลียบอ่าวไทยมาออกที่ จ.ตราด ข้ามมายังเกาะกงของกัมพูชาและไปสุดที่ปลายแหลมของเวียดนามที่เมือง Nam Can
อย่าง ไรก็ตาม ทั้งสามเส้นทางย่อย จะมีเส้นเชื่อมภายใน (Intercorridor Link) เป็นเส้นทางแนวตั้งผ่านกัมพูชาและลาว โดยทุกเส้นทาง ถ้าผ่านลาวจะเป็นเส้นสั้นที่สุด
นอกเหนือการเป็นศูนย์กลางเครือข่าย คมนาคมแล้ว ลาวยังมีศักยภาพด้านอื่นๆที่ไม่ควรมองข้ามอาทิ การเป็นแบตเตอรี่ของเอเชีย โดยผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำป้อนเข้าไทยและประเทศข้างเคียง และลาวยังเป็น 1 ใน 8 ประเทศทั่วโลกที่เป็นปอดของโลก
ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ลาวเป็น 1 ใน 10 ของประเทศที่รายได้ประชากรสูงขึ้นมากสุดจาก 6.3 ล้านกีบ เป็น 8.35 ล้านกีบ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเติบโตเฉลี่ยปีละ 8% โตเป็นอันดับ 2 รองจากจีน หลวงพระบางเป็นเมืองที่น่าเที่ยวที่สุดในโลกและลาวเป็นประเทศที่มีความสุข ที่สุดในอันดับที่ 34
ลาวยังวางแผนเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านสำคัญ โดยดำเนินยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศเป็นประเทศอุตสาหกรรมและทันสมัย หรือ หันเป็นอุตสาหกรรม-หันเป็นทันสมัย (Realization of Industrialization and Modernization Strategy)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ลาว ฉบับที่ 7 เน้นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีกฎหมายส่งเสริมการลงทุนฉบับใหม่ ตั้งตลาดหลักทรัพย์เปิดขาย เมื่อวันที่11/11/11 หรือวันที่ 11 พ.ย. 2011 และยังสมัครเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) ปฏิรูประบบตุลาการพร้อมประกาศนโยบายปรับเปลี่ยนใหม่รอบด้าน เป้าหมายการพัฒนาของลาวในปี 2558 จำนวนครอบครัวยากจนต้องไม่เกิน 10% ของครอบครัวทั่วประเทศ โดยพลเมืองส่วนใหญ่สำเร็จมัธยมศึกษาตอนต้นและมีอายุขัยเฉลี่ย 68.3 ปี แนวนโยบายด้านเศรษฐกิจของลาว ยึดมั่นการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นศูนย์กลาง ขยายกำลังการผลิตเปลี่ยนเศรษฐกิจธรรมชาติสู่เศรษฐกิจสินค้า สร้างเศรษฐกิจตลาดตามทิศทางสังคมนิยม เพิ่มประสิทธิภาพของรัฐในการคุ้มครองเศรษฐกิจพัฒนาการเกษตรผสมผสานให้มีความ มั่นคงทางด้านอาหาร รักษาพื้นที่ป่าไม้
อย่างไรก็ตาม ลาวยังประกาศนโยบายชัดเจนก็คือ ความมั่นคงมาก่อนความมั่งคั่ง วัฒนธรรมนาเศรษฐกิจ ติดพันสภาพแวดล้อม หรือรักษาสภาพแวดล้อมนั่นเอง
ไทย ให้ความสำคัญกับลาวอย่างมาก ในฐานะญาติใกล้ชิด มิตรใกล้บ้านโดยสร้างชายแดนแห่งสันติสุขความร่วมมือและการพัฒนา ตอบสนองนโยบายลาว ร่วมกันวางแผนงานร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าครอบคลุมทุกมิติ ตั้งเป้าเพิ่มมูลค่าการค้าสองฝ่ายเป็น 2 เท่าจาก 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2554 เป็น 8,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี2558 ขยายความร่วมมือและการอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุนลาวมีประชากร ประมาณ 6.8 ล้านคน ปกครองโดยระบบสังคมนิยมมากว่า 36 ปี โดยพรรคประชาชน มีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ มีการลงทุนจากต่างชาติ ได้แก่ จีน เกาหลี และไทย แม้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่องแต่ยังอยู่ในกลุ่มประเทศ ที่พัฒนาน้อย หรือ LDCs (Less Developed Countries) อนาคตของลาวจึงน่าจับตาทุกย่างก้าว การพัฒนาของลาวจะกลายเป็นการพัฒนาของไทย ผลประโยชน์ของลาวจะกลายเป็นผลประโยชน์ของไทยเช่นกัน ลาวจึงเป็นประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงที่ห้ามมองข้ามอย่างเด็ดขาด
ที่มา : โพสต์ทูเดย์

สปป.ลาว น้องใหม่ WTO ลำดับที่ 158….หนุนโอกาสไทยเชื่อม สปป.ลาว สู่สากล

ประเด็นสำคัญ
•    สปป.ลาว เป็นประเทศล่าสุดใน ASEAN ที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิก WTO อย่างเป็นทางการในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2556 นี้ ช่วยขยายโอกาสทางการค้าและดึงดูดต่างชาติเข้ามาลงทุนใน สปป.ลาว เพิ่มขึ้น ขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตสดใสไม่ต่ำกว่าร้อยละ 8 อย่างต่อเนื่อง
•    ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การเป็นสมาชิก WTO เต็มตัวของ สปป.ลาว อาจไม่เห็นผลการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนัก แต่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างกฎระเบียบ ให้เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ ซึ่งธุรกิจไทยจะได้อานิสงส์เติบโตควบคู่ไปกับการค้าและการลงทุนที่เข้าสู่ สปป.ลาว
•    ทั้งนี้ ไทยมีโอกาสสูงที่จะได้รับประโยชน์ในฐานะหนึ่งในสมาชิกกรอบ AEC และ RCEP ที่ สปป.ลาว มีข้อผูกพันในการเปิดเสรีที่ครอบคลุมในระดับกว้างและลึกกว่ากรอบ WTO ประกอบกับการที่ สปป.ลาวไม่มีพรมแดนติดทะเลจึงทำให้การติดต่อค้าขายและเข้ามาลงทุนของประเทศส่วนใหญ่อาจต้องอาศัยทางผ่านจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างไทย
WTO ผลักดัน สปป.ลาว สู่ระบบการค้าสากล
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือ สปป.ลาว เป็นประเทศล่าสุดในอาเซียนที่กำลังก้าวเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกหรือ WTO (World Trade Organization) อย่างเป็นทางการในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ช่วยเติมเต็มบทบาทอาเซียนสู่ระบบการค้าสากล ทั้งยังเป็นก้าวสำคัญของ สปป.ลาว ในการปรับเปลี่ยนนโยบายและโครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับกฎระเบียบการค้าและการลงทุนให้สอดคล้องกับกรอบปฏิบัติทางการค้าที่เท่าเทียมกันของ WTO อันจะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่นักธุรกิจต่างชาติที่สนใจทำธุรกิจทั้งการค้าและการลงทุนกับ สปป.ลาว ในระยะข้างหน้า โดยข้อผูกพันการเปิดตลาดที่สำคัญของ สปป.ลาว ได้แก่
    การปรับโครงสร้างภาษีสินค้านำเข้า (Bound Rate) โดยผูกพันอัตราภาษีนำเข้าทุกประเภทเฉลี่ยสูงสุดไม่เกินร้อยละ 18.8  สำหรับในกลุ่มสินค้าเกษตรเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 19.3 เป็นอัตราที่สูงกว่าสินค้าอุตสาหกรรมที่เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 18.7 เอื้อประโยชน์ต่อการนำเข้าซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นสำคัญ
    การเปิดตลาดสินค้าบริการในกลุ่มสาขาที่กำหนด 10 สาขา (79 สาขาย่อย) เอื้อต่อธุรกิจบริการของต่างชาติที่จะเข้าไปสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจของ สปป.ลาว ได้แก่ 1) บริการทางธุรกิจ 2) บริการโทรคมนาคม (Courier and Telecom Services) 3) การก่อสร้าง 4) การกระจายสินค้า 5) การศึกษาภาคเอกชน 6) การบริการด้านสิ่งแวดล้อม 7) การประกัน 8) ธนาคารและการเงิน 9) บริการโรงพยาบาลเอกชน 10) การท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ
    นอกจากนี้ ยังมีข้อกำหนดบางรายการที่ผ่อนผันระยะเวลาบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบ อาทิ ข้อกำหนดเรื่องอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (Technical Barriers to Trade:TBT) และมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Sanitary and Phytosanitary Measures: SPS) บังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบในวันที่ 1 มกราคม 2558  และในปีถัดมาวันที่ 31 ธันวาคม 2559 จะบังคับใช้ข้อกำหนดสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาหรือ TRIPS (Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights)
การเปิดประตูของ สปป.ลาว อย่างเป็นทางการตามบรรทัดฐานของ WTO จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ สปป.ลาว และเอื้อประโยชน์ต่อไทยในหลายแง่มุม กล่าวคือ
    สปป.ลาว ตั้งเป้าชักจูงการลงทุนจากต่างประเทศสูงขึ้นเป็นสัดส่วนร้อยละ 32 ต่อ GDP ภายในช่วงปี 2554-2558 โดยคาดหมายให้มีมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศแตะ 15 พันล้านดอลลาร์ฯ (จาก 3.4 พันล้านดอลลาร์ฯ ในปี 2554) เป็นจังหวะที่สอดคล้องกับการเข้า WTO ของ สปป.ลาว ซึ่งจะยิ่งสร้างความเชื่อมั่นในเวทีการค้าโลกมากขึ้น ช่วยกระตุ้นให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในสาขาหลากหลายมากขึ้น(ปัจจุบันการลงทุนมักเป็นโครงการขนาดใหญ่กระจุกตัวในสาขาพลังงานและเหมืองแร่) รวมทั้งปัจจัยบวกจากธุรกิจบริการด้านท่องเที่ยวที่มีโอกาสเติบโตดีขึ้นจากการเข้ามาของนักท่องเที่ยวในแถบภูมิภาคเอเชีย และการเตรียมความพร้อมรองรับการก้าวสู่ AEC (ASEAN Economic Community) โดยคาดว่าการลงทุนจากต่างประเทศน่าจะเป็นแรงผลักดันสำคัญให้เศรษฐกิจ สปป.ลาว ในปี 2556 เติบโตโดดเด่นที่สุดในอาเซียนด้วยอัตราร้อยละ 8.1 และรักษาระดับการขยายตัวในระดับใกล้เคียงกันต่อเนื่องจนถึงปี 2558
    เศรษฐกิจเติบโต ยกระดับรายได้และอำนาจซื้อเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งตั้งแต่ปี 2553 สปป.ลาว ได้ก้าวข้ามจากการเป็นประเทศรายได้ต่ำ (Low Income Country ตามนิยามของธนาคารโลก ซึ่งหมายถึงประเทศที่มีรายได้ประชาชาติต่อหัวต่ำกว่า 1,025 ดอลลาร์ฯ) โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในปี 2555 ที่ผ่านมา รายได้ต่อหัวของ สปป.ลาว อยู่ที่ประมาณ 1,450 ดอลลาร์ฯ และประเมินว่าจะมีรายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าของระดับดังกล่าวได้ประมาณปี 2563 (ค.ศ. 2020) โดยหากเปรียบเทียบกับจังหวัดของไทย อาจกล่าวได้ว่าปัจจุบัน สปป.ลาว มีรายได้ต่อหัวใกล้เคียงกับจังหวัดที่มีรายได้ในระดับต่ำของไทย อย่างมหาสารคาม สกลนคร หนองคาย และชัยภูมิ แต่ในอีกไม่ถึง 10 ปีข้างหน้า ทำให้ชาวลาวอาจมีกำลังซื้อสูงขึ้นมาทัดเทียมกับจังหวัดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อย่างขอนแก่นในปัจจุบัน จึงอาจกล่าวได้ว่าระยะข้างหน้า อำนาจซื้อของชาวลาว ที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นการเพิ่มทางเลือกในการใช้จ่ายบริโภคสินค้าได้หลากหลาย ทั้งยังอาจมีความสามารถจับจ่ายครอบคลุมสินค้านอกเหนือจากสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานได้อีกด้วย
    ผู้ส่งออกสินค้าไทยเตรียมรับโอกาส ตามการเติบโตทางเศรษฐกิจของ สปป.ลาว ที่น่าจะรักษาระดับการเติบโตในเกณฑ์สูงได้ต่อไปในระยะข้างหน้า โดยสินค้าที่คาดว่าจะได้รับอานิสงส์ดังกล่าว ที่สำคัญจะเป็นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคของไทยที่ได้รับการตอบรับอย่างดี รวมไปถึงสินค้าขั้นกลางอันมีโอกาสเติบโตรองรับการลงทุนใหม่ๆ รวมถึงการขยายตลาดส่งออกสินค้าของ สปป.ลาว ที่น่าจะมีเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ในปี 2555 ที่ผ่านมาการส่งออกของไทยไป สปป.ลาว ขยายตัวสูงร้อยละ 30.4 โดยไทยเกินดุลการค้ากับ สปป.ลาว มาโดยตลอด นอกจากนี้ ไทยเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของ สปป.ลาว เป็นทั้งตลาดส่งออกครองส่วนแบ่งราวร้อยละ 50 ของการส่งออกทั้งหมดของ สปป.ลาว และยังเป็นแหล่งนำเข้าครองส่วนแบ่งราวร้อยละ 40 ของการนำเข้าทั้งหมดของ สปป.ลาว อีกด้วย
    ไทยอาจได้อานิสงส์จากการเป็นประตูการค้าเชื่อม สปป.ลาว สู่ตลาดโลก เป็นที่ทราบกันดีว่าสปป.ลาว ไม่มีพรมแดนติดทะเล ดังนั้น หากการค้าระหว่างประเทศของ สปป.ลาว เติบโตยิ่งขึ้นหลังจากเข้าเป็นสมาชิก WTO แล้ว ก็มีโอกาสที่ไทยอาจได้ประโยชน์ด้านโลจิสติกส์จากการที่ สปป.ลาว จะต้องส่งออกหรือนำเข้าสินค้าด้วยท่าเรือของไทยเพื่อเป็นประตูเชื่อมการค้ากับนานาประเทศ โดยเฉพาะภูมิภาคในฝั่งตะวันตก หรือทางใต้ของคาบสมุทรอินโดจีน ในขณะที่การค้าขายของ สปป.ลาว กับประเทศฝั่งตะวันออกอาจผ่านท่าเรือของเวียดนามเป็นส่วนใหญ่
    คู่แข่งสำคัญของไทยยังคงเป็นจีนและเวียดนาม แม้การเข้าเป็นสมาชิก WTO จะทำให้ประตูการค้าการลงทุนของ สปป.ลาว เปิดกว้างขึ้นแก่นานาประเทศ แต่โดยเปรียบเทียบแล้วไทยค่อนข้างได้เปรียบจากเหตุผล 2 ประการ ประการแรก ข้อผูกพันที่ สปป.ลาว เปิดให้แก่สมาชิก WTO เป็นระดับที่ยังอยู่ในขอบเขตจำกัดหากเทียบกับการเปิดเสรีภายใต้กรอบ AEC ประการที่สอง ASEAN+6 ที่กำลังจะพัฒนาไปเป็น RCEP (Regional Comprehensive Economic Partnership)  ทำให้ประเทศในกลุ่มนี้เข้าถึงโอกาสทางการค้าและการลงทุนกับ สปป.ลาว ได้มากกว่า ขณะเดียวกัน ด้วยปัจจัยด้านภูมิศาสตร์ของ สปป.ลาว ที่ไม่มีทางออกทะเล การติดต่อค้าขายและเข้ามาลงทุนของต่างชาติส่วนใหญ่จึงต้องผ่านประเทศที่รายล้อม สปป.ลาว อยู่ จึงทำให้รูปแบบโครงสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจคงไม่เปลี่ยนแปลงจากปัจจุบันมากนัก โดยคู่แข่งสำคัญของไทยใน สปป.ลาว ยังคงเป็นเวียดนามและจีน ซึ่งในอดีตไทยเคยเป็นผู้ลงทุนสะสมอันดับ 1 ใน สปป.ลาว แต่ในที่สุดก็ถูกนักลงทุนเวียดนามและจีนค่อยๆแซงหน้าขึ้นมาในปี 2550 และปัจจุบันไทยเป็นนักลงทุนอันดับ 3 มีสัดส่วนการลงทุนใน สปป.ลาว ประมาณ 1 ใน 5 ของการลงทุนจากต่างชาติใน สปป.ลาว ธุรกิจที่สำคัญได้แก่ การแปรรูปอาหาร สิ่งทอ และก่อสร้าง ซึ่งรวมแล้วมีเม็ดเงินลงทุนสูสีกับจีนที่อยู่ในอันดับ 2

วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557

Forklift ໄຟ​ຟ້າ Stacker ໄຟ​ຟ້າ​ເຄິ່ງ Stacker ໄຟ​ຟ້າ​

Forklift ໄຟ​ຟ້າ Stacker ໄຟ​ຟ້າ​ເຄິ່ງ Stacker ໄຟ​ຟ້າ​ເຄິ່ງ​ໄຟ​ຟ້າ​ໂຫຼດ​ໄຮ​ໂດຼ​ລິກ​ແລະ​ລົດ unloading ກັນ Beckham





repair and spare parts forklift ພາກສ່ວນ spare Forklift

ພາກສ່ວນ ຄວາມຍາວຂອງສ້ອມ ຍົກ ເຄື່ອງຈັກໃນການ ແນວໃດ? ໄຟຟ້າ ແລະ ກາຊວນ ເມື່ອຍ ລົດ ? forklift ( polyurethane ) .

ການສ້ອມແປງ ຫມໍ້ໄຟ ພະລັງງານ ລວມທັງການ ທຸກປະເພດຂອງ ພາກສ່ວນ ໄຟຟ້າ

ການບໍລິການ ກວດກາ ເພື່ອ ສະເຫນີໃຫ້ ການສ້ອມແປງ . ແລະ ການບໍລິການ ໃຫ້ຄໍາປຶກສາ

ການຕິດຕັ້ງ ອຸປະກອນ ພິເສດເຊັ່ນ: ສາມາດບັນລຸ ? clamps Shiftef ຂ້າງຄຽງ ແລະ LPG ອາຍແກັສ .


ການສ້ອມແປງ ການສ້ອມແປງ ຢ່າງໄວວາ ຍີ່ຫໍ້ທັງຫມົດ ສະພາບໍລິ CPU controlboard .

ຂາຍ ? ການສ້ອມແປງ Pallets ມື ຍີ່ຫໍ້ ຂອງ ຂະຫນາດທັງຫມົດ ທັງຫມົດ .

ຄ່າທໍານຽມ ການບໍລິການ ລາຍເດືອນ ( PMS ) ການປ່ຽນແປງ ນ້ໍາ Grease .

ລົດຍົກ ຄວາມຍາວຂອງສ້ອມ ການນໍາເຂົ້າຈາກ ຕ່າງປະເທດ ( ການນໍາໃຊ້ ລົດ ) ທັງ ໄຟຟ້າ ແລະ ເຄື່ອງຈັກໃນການ .


ການສ້ອມແປງ ທ້າຍ beam ແກນ ຫ້າມລໍ້ ໄຮໂດຼລິກ.

ການຕິດຕັ້ງ ອອກຫມາກ ການເພີ່ມຂຶ້ນຂອງ ລະດັບຄວາມສູງ ຍົກ ທັງສອງ ເຄື່ອງຈັກ ແລະ ໄຟຟ້າ .

ເຊົ່າລົດ Pickering ຍົກ ເຄື່ອງຈັກ ? Metro ປະຈໍາວັນ , ຍານພາຫະນະ ປະຈໍາເດືອນ ແລະ ປະຈໍາປີ ຈາກ 1.0 ຫາ 4 ໂຕນ .

ຊື້ - ຂາຍ - ແລກປ່ຽນ ລົດ ຍົກ ຄວາມຍາວຂອງສ້ອມ ທີ່ມີເງື່ອນໄຂ ທັງຫມົດ.


ການລົງຂາວ ຫມໍ້ໄຟ ຢ່າງວ່ອງໄວ

Forkliftຮ້ານ ສ້ອມແປງ ລົດ . ທຸກປະເພດ ຂອງເຄື່ອງຈັກ ດັ່ງກ່າວ ເປັນ torque clutch ລະບົບສາຍສົ່ງ ລະບົບສາຍສົ່ງ ໃນໄລຍະ Hual ກາຊວນ - Gasoline - ອາຍແກັດ LPG .

ຄວາມແຕກຕ່າງກັນ ຂອງ ພະຍາດແລະອື່ນໆ ໄດ້ ຍົກ ແຕ່ລະຊະນິດ . ຍົກ ຟ forklift ແບ່ງອອກ ໂດຍ ການບໍລິໂພກ ພະລັງງານ ໂດຍ ສີ່ ຊະນິດ

ຄວາມແຕກຕ່າງກັນ ຂອງ ພະຍາດແລະອື່ນໆ ໄດ້ ຍົກ ແຕ່ລະຊະນິດ .
ຍົກ ຟ forklift. ແບ່ງອອກ ໂດຍ ການບໍລິໂພກ ພະລັງງານ ໂດຍ ສີ່ ຊະນິດ .



Gasoline ( Gasoline )
ຂໍ້ໄດ້ປຽບແລະ ຂໍ້ເສຍ
ຫນຶ່ງ . , ນ້ໍາ ແມ່ນງ່າຍທີ່ຈະ ຊອກຫາຢູ່ໃນ ສະຖານທີ່ ອື່ນໆ.
ທັງສອງ . ພະລັງງານ ນ້ອຍກ່ວາ ເຄື່ອງຈັກໃນການ ກ່ວາ ເຄື່ອງຈັກໃນການ .
ກາຊວນ ແມ່ນ ຂະຫນາດດຽວກັນ
ບໍາລຸງຮັກສາ ສາມ. ງ່າຍ ນັກວິຊາການ ທີ່ຄຸ້ນເຄີຍ ກັບ ຄວາມເຂົ້າໃຈ
ອ່ານຕໍ່
4 . ລົດ ຂ້າງລຸ່ມນີ້
ເຊື້ອໄຟ ຫນຶ່ງ . , flammable
ມູນຄ່າໃຊ້ຈ່າຍ ທັງສອງ . , ລາຄາ ນໍ້າມັນເຊື້ອໄຟ ແມ່ນມີ ສູງ .
. 3 ignition ຈໍາເປັນຕ້ອງໄດ້ ຮັບການ ຮັກສາໄວ້ ເປັນປົກກະຕິ .
. ເຊື້ອໄຟ ສີ່ ພາບການປ່ຽນແປງ
ຫ້າ. ຕ້ອງ ການນໍາໃຊ້ ຢູ່ໃນ ສະຖານທີ່ອື່ນໆ . ມີ ລະບາຍອາກາດ ທີ່ດີ


ອາຍແກັສ ( ສະພາບຄ່ອງຂອງ ນໍ້າມັນເຊື້ອໄຟ ອາຍແກັສ ) .
ຂໍ້ໄດ້ປຽບແລະ ຂໍ້ເສຍ
1 . ການ ເຜົາໃຫມ້ສໍາເລັດ ທີ່ມີອາກາດ , ຮ້ອນຫຼື ເຢັນ .
ທັງສອງ . ບໍາລຸງຮັກສາ ງ່າຍຂຶ້ນ.
ສາມ. monoxide ກາກບອນ emit ຫນ້ອຍກ່ວາ ເຄິ່ງຫນຶ່ງ.
ຂອງ benzene
4 . ການ ຕົກຄ້າງ ນ້ໍາ ຂອງເຄື່ອງຈັກແລະ ທົນທານ.
ກະແຈກກະຈາຍ
ຫ້າ. Spark ຫວົສຽບ ສຸດທ້າຍ ຕໍ່ໄປອີກແລ້ວ ກ່ວາ ລົດ ມັນ.
. ຄ່າໃຊ້ຈ່າຍໃນ 6 ນໍ້າມັນເຊື້ອໄຟ ແມ່ນມີ ລາຄາຖືກກວ່າ .
ຫນຶ່ງ . ຕ້ອງມີ ຄວາມຮູ້ ໃນການ ບໍາລຸງຮັກສາ ລະບົບ ນໍ້າມັນເຊື້ອໄຟ ໄດ້.
ຕາມຄວາມເຫມາະສົມ
ທັງສອງ . ຮຽກຮ້ອງໃຫ້ມີ ສະຖານທີ່ ເກັບຮັກສາ ນໍ້າມັນເຊື້ອໄຟ ແລະ ປົກປັກຮັກສາ ລະບົບ .
ສາມ. ພັຍ ຂອງເຄື່ອງຈັກ ປ່ຽງ ໄວກ່ວາ ມັນ.
ຕ້ອງ ນໍາໃຊ້ ສີ່ . ໃນ ສະຖານທີ່ອື່ນໆ . ມີ ລະບາຍອາກາດ ທີ່ດີ



ກາຊວນ
ຂໍ້ໄດ້ປຽບແລະ ຂໍ້ເສຍ
ຫນຶ່ງ . , ນ້ໍາ ແມ່ນງ່າຍທີ່ຈະ ຊອກຫາ ຄ່າໃຊ້ຈ່າຍ ຕ່ໍາ ໃນລະບົບ ການຂົນສົ່ງ.
ທັງສອງ . ສະຫນອງ ພະລັງງານຫຼາຍ ໃນເວລາທີ່ ການນໍາໃຊ້ ຈໍານວນດຽວກັນ ຂອງ ນ້ໍາ .
ບໍາລຸງຮັກສາ ຫນ້ອຍສາມ . ການ torque ສູງ .
. ວິສະວະກໍາ ສີ່ ກວ່າ ຝຸ່ນ ຢ່າງໃດກໍຕາມ , ຄວາມເປັນພິດ ຫນ້ອຍ
5 . , ທົນທານ ສະ uncomplicated
1 . ການເລັ່ງ ການ ແມ່ນຄວັນຢາສູບ ຫຼາຍ .
. ນັກວິຊາການ ທັງສອງມີ ປະສົບການ ເລັກນ້ອຍ


ລະບົບ
ຂໍ້ໄດ້ປຽບແລະ ຂໍ້ເສຍ
ຫນຶ່ງ . , ບໍ່ມີ ທາດອາຍຜິດ ເປັນພິດ ອື່ນໆ .
. ສຽງ ທັງສອງ ບໍ່ແຊກແຊງ.
ສາມ. ສຸດທ້າຍ ຕໍ່ໄປອີກແລ້ວ ກ່ວາ ເຄື່ອງຈັກໃນການ .
4 . ການ ບໍາລຸງຮັກສາ ເລັກນ້ອຍ ທີ່ງ່າຍດາຍ .
ຄ່າໃຊ້ຈ່າຍ ຫນຶ່ງ .
ທັງສອງ . ສະຫນອງ ຊ່ອງ ສໍາລັບ ການຕິດຕັ້ງຂອງ charger ຫມໍ້ໄຟ .
ສາມ. ຈໍາເປັນ ທີ່ຈະ ເພີ່ມມູນຄ່າໂທ ຫມໍ້ໄຟ ຂອງຢ່າງເຕັມທີ່ ກ່ອນການນໍາໃຊ້ .
ຕ້ອງການ 4 . ສໍາລັບ ປະຊາຊົນ ທີ່ມີ ຄວາມຊໍານານ . ບໍາລຸງຮັກສາ

ພາກ​ສ່ວນ polyurethane ຂັບ​ລົດ nylon ຂັບ​ລົດ​ຂັບ​ລົດ Forklift ລົດ pallet ພານ​ມື​ການ​ຂັບ​ລົດ​ເອ Forklift

ພາກ​ສ່ວນ polyurethane ຂັບ​ລົດ nylon ຂັບ​ລົດ​ຂັບ​ລົດ Forklift ລົດ pallet ພານ​ມື​ການ​ຂັບ​ລົດ​ເອ Forklift